ดูบทความ
ดูบทความพระราชประวัดิ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัดิ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หมวดหมู่:
รวมบทความ และ ข้อคิดดีๆ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น ( MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ ( MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (MERRIMENT) เมืองโลซานน์ (LASAGNA) ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติ ในระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาในแผนกวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมืองโลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช พระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ
ครั้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระนามว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมาพุเพียง 19 พรรษา เท่านั้น ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนารทนเรนทร และพระยามานวราชเทวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงบรรลุนิติภาวะ ทั้งยังทรงมีภารกิจในการศึกษาต่ออีกอย่างหนึ่งด้วย ทรงเสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 และเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์แทนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องด้วยทรงคำนึงถึงพระราชภารกิจในการปกครองประเทศเป็นสำคัญ
ระหว่างที่ประทับอยู่ต่างประเทศนั้น ได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิตติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ-กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และได้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสขึ้นในปี พ.ศ. 2493 และสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี
ทรงได้เข้าพิธีพระบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังจากพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้วได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทำการรักษาพระสุขภาพอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ตามคำแนะนำของแพทย์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ และทรงนิวัตกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2494
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี มีพระโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ ได้แก่
1.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับชาวต่างชาติ
2.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ต่อมาได้นับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาราช สยามมงกุฎราชกุมาร
3.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุรากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
4.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2500
พระราชประวัติการศึกษา
เมื่อพุทธศักราช 2475 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเจริญพระชนมายุ 5 พรรษา ได้ทรงเข้ารับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียน มาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ ขณะนั้น ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ การเมืองผันผวน ในเดือน กันยายน 2476 หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา จึงทรงนำพระธิดา พระโอรส เสด็จไปประทับ ณ กรุงโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงรับการศึกษา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเข้ารับการศึกษา ชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียน เมียร์มองต์ ชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน เอโกล นูแวล เดอ ลา สวิส โรมองต์ และโรงเรียน ยิมนาส กลาซีค กังโตนาล ตามลำดับ และทรงได้รับประกาศนียบัตร บาเชอลิเย เอ แลทร์ จากการศึกษา ดังกล่าวทรงรอบรู้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ละติน ต่อจากนั้น ทรงเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์
ครั้นถึงวันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติรัฐบาลจึงกราบทูลอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งสืบสายราชสันตติวงศ์ ลำดับที่ 1 และมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งได้ทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงสถาปนา หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา เป็น พระราชชนนีศรีสังวาลย์ และทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยานิวัฒนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช ได้โดยเสด็จพระบรมเชษฐาธิราช สมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ นิวัฒพระนคร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2481 ประทับ ณ พระตำหนัก จิตลดารโหฐาน สวนจิตลดา เป็นเวลา 2 เดือน แล้วเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์
ต่อมาได้เสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ 5 ธันวาคม 2488 ในครั้งนี้ ปวงชนชาวไทยในแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์มิได้ประทับเป็นประมุขยาวนานกว่า สิบปี ต่างปลาบปลื้มปิติชื่นชมโสมนัส ที่ได้ชื่นชมพระบารมี สมเด็จพระยุวกษัตริย์ ซึ่งมีพระชนมพรรษา เพียง 20 พรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระชนมพรรษา 18 พรรษา
ทั้งสองพระองค์เสด็จเสด็จพระราชดำเนินเคียงคู่กันไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ ที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง แต่ความชื่นชมโสมนัสนั้น ดำรงอยู่มินาน ครั้งถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง
พระราชประวัติเสด็จขึ้นครองราชย์
ขณะที่พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา 18 พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีงาศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน นั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และรัฐบาล ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ บริหารราชกาลแผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรงศึกษา ต่อ ณ ต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2498 ได้เสด็จพระราชดำเนิน กลับไปทรงศึกษา ต่อ ณ กรุงโลซานน์ แม้พระองค์จะทรงโปรดวิชาวิศวกรรมศาสตร์แต่เพื่อประโยชน์ในการปกครองประเทศได้ทรงเปลี่ยนมาศึกษา วิชาการปกครองแทน เช่น วิชากฎหมาย อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ทรงศึกษา และฝึกฝนการดนตรีด้วยพระองค์เองด้วย
ใน พ.ศ. 2491 ระหว่างทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงขับรถยนต์ไปทรงร่วมงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้ทรงพบและมีพระราชหฤทัยสนิทเสน่หาใน หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส
ในปีเดียวกันนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง ทรงบาทเจ็บที่พระพักตร์พระเนตรขวา และพระเศียร ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมอร์เซส์ โปรดฯให้หม่อมเจ้าราชวงศ์สิริกิติ์มาเฝ้าฯ ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระสัมพันธภาพจึงแน่นแฟ้นขึ้น และต่อมาได้ทรงหมั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 โดยได้พระราชทานพระธำมรงค์วงที่สมเด็จพระบรมราชนกหมั้นสมเด็จพระราชชนนี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการอภิบาลอย่างดียิ่งจากสมเด็จพระราชชนนี จึงมีพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง และมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการ ซึ่งน้อมนำให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงสิริราชสมบัติเพียบพร้อมด้วยทศพิศราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรมและราชสังคหวัตถุ ทรงเจริญด้วยพระเกียรติคุณบุญญาธิการเจิดจำรัส ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทุกทิศานุทิศในเวลาต่อมาตราบจนปัจจุบัน
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2493 และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ทรงจดทะเบียนสมรส ตามกฏหมายเช่นเดียวกับประชาชน ได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น พระราชินีสิริกิติ์
หลังจากนั้น ได้เสด็จไปประทับพักผ่อน ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน และที่นี่เป็นแหล่งเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ พระราชทาน “ ถนนสายห้วยมงคล” ให้แก่ “ ลุงรวย” และชาวบ้านที่มาช่วยกันเข็นรถพระที่นั่งขึ้นจากหล่มดิน ทั้งนี้เพราะแม้ “ ห้วยมงคล” จะอยู่ห่างอำเภอหัวหินเพียง 20 กิโลเมตร แต่ไม่มีถนนหนทาง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตมาก ถนนสายห้วยมงคล นี้จึงเป็นถนนสายสำคัญ ที่นำไปสู่โครงการในพระราชดำริ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรอีกจำนวนมากกว่า 2,000 โครงการในปัจจุบัน
พระบรมราชาภิเษก
วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
“ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”
และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”
ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
วันที่ 5 มิถุนายน 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ไปยังสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง เพื่อทรงรักษาพระสุขภาพ และเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร เมื่อ 2 ธันวาคม 2494 ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระที่นั่งอัมพรสถาน
ทั้งสองพระองค์มีพระราชธิดา และพระราชโอรส 4 พระองค์ดังนี้
1 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อ 4 เมษายน 2494 ณ โรงพยาบาลมองซัวนี่ โลซานน์
2 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อ 28 กรกฏคม 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมา ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ 28 กรกฏคม 2515
3 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลนโสภาคย์ ประสูติเมื่อ 2 เมษายน 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2520
4 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อ 4 กรกฏาคม 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
ทรงพระผนวช
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ปฏิบัติพระศาสนกิจ เป็นเวลา 15 วัน ระหว่างนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในรัชกาลนี้ ได้ทรงพระกรุณาสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมชนกนาถ ขึ้นเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงสถาปนา สมเด็จพระราชชนนี เป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสถาปนา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลนาณิวัฒนา กรมหลวงนราธวาสราชนครินทร์ และทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ใหม่ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2539 เพื่อให้สมพระเกียรติตามโบราณขัตติยราชประเพณี ทั้งนี้ด้วยพระจริยวัตรอันเปี่ยมด้วยพระกตัญญูกตเวทิตาธรรม อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ พระปรมาภิไธยใหม่ที่ทรงสถาปนาคือ
“ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศนิวิฐ ทศพิศราชธรรมอุกษฏนิบุณ อดุลยกฤษฏาภินิหารรังสฤษฏ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตร โสภาคย์สรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรษราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฏาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”
พระราชกรณียกิจ
ตั้งแต่พุทธศักราช 2502 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระฉับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และ เอเชีย และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ทุกภาคทรงประจักษ์ในปัญหาของราษฎร ในชนบทที่ดำรงชีวิตด้วยความยากจน ลำเค็ญ และด้อยโอกาส ได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะหาทางแก้ปัญหาตลอดมาตราบจนปัจจุบัน
อาจกล่าวได้ว่า ทุกหนทุกแห่งบนผืนแผ่นดินไทยที่รอยพระบาทได้ประทับลง ได้ทรงขจัดทุกข์ยากนำความผาสุกและทรงยกฐานะความเป็นอยู่ของราษฎร ให้ดีขึ้นด้วยพระบุญญาธิการ และพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง พร้อมด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของราษฏรและเพื่อความเจริญพัฒนาของประเทศชาติตลอดระยะเวลาโดยมิได้ทรงคำนึงประโยชน์สุขส่วนพระองค์เลย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการนานัปการมากกว่า 2,000 โครงการ ทั้งการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การสังคมวัฒนธรรม การคมนาคม ตลอดจนการเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในชนบท ทั้งยังทรงขจัดปัญหาทุกข์ยากของ ประชาชนในชุมชนเมือง เช่น ทรงแก้ปัญหาการจราจร อุทกภัยและปัญหาน้ำเน่าเสีย ในปัจจุบัน ได้ทรงริเริ่มโครงการการช่วยสงเคราะห์และอนุรักษ์ช้างของไทยอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรากตรำพระวรกายทรงงานอย่างมิทรงเหน็ดเหนื่อย แม้ในยามทรงพระประชวร ก็มิได้ทรงหยุดยั้งพระราชดำริเพื่อขจัดความทุกข์ผดุงสุขแก่พสกนิกร กลางแดดแผดกล้า พระเสโทหลั่งชุ่มพระพักตร์และพระวรกาย หยาดตกต้องผืนปถพี ประดุจน้ำทิพย์มนต์ ชโลมแผ่นดินแล้งร้าง ให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ ตราบจนปัจจุบันนานกว่า 53 ปี แล้ว
แม้ในยามประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ก็ได้พระราชทานแนวทางดำรงชีพแบบ “ เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ ทฤษฎีใหม่” ให้ราษฎรได้พึ่งตนเอง ใช้ผืนแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบอาชีพอยู่กินตามอัตภาพ ซึ่งราษฎรได้ยึดถือปฏิบัติเป็นผลดีอยู่ในปัจจุบัน
พระอัจฉริยภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานความรักอันยิ่งใหญ่แก่อาณาประชาราษฎร์ พระราชภารกิจอันหนักเพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ ปรากฏเป็นที่ประจักษ์เทิดทูนพระเกียรติคุณทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวโลก จึงทรงได้รับการสดุดีและการทูลเกล้าฯถวายปริญญากิตติมศักดิ์เป็นจำนวนมาก ทุกสาขาวิชาการ ทั้งยังมีพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีอย่างสูงส่ง ทรงพระราชนิพนธ์เพลงอันไพเราะนับแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวม 47 เพลง ซึ่งนักดนตรีทั้งไทยและต่างประเทศนำไปบรรเลงอย่างแพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพจนสถาบันดนตรีในออสเตรเลีย ได้ทูลเกล้าฯถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์แด่พระองค์
นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักกีฬาชนะเลิศรางวัลเหรียญทอง ในการแข่งขันกีฬาชีเกมส์ทรงได้รับยกย่องเป็น “ อัครศิลปิน” ของชาตินอกจากทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรีแล้ว ยังทรงสร้างสรรค์งานจิตกรรมและวรรณกรรมอันทรงคุณค่าไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ เช่น ทรงพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง ติโตนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ และพระราชนิพนธ์เรื่อง ชาดก พระมหาชนก พระราชทานคติธรรมในการดำรงชีวิตด้วยความวิริยอุตสาหะ อดทนจนพบความสำเร็จแก่พสกนิกรทั้งปวง
ปวงชนชาวไทยต่างมีความจงรักภัคดีเป็นที่ยิ่งดังปรากฏว่า ในวาระสำคัญ เช่น ศุภวาระเถลิงถวัลยราชครบ 25 ปี พระราชพิธีรัชดาภิเษก 9 มิถุนายน 2514 พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ทรงดำรงค์สิริราชสมบัติยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ 2 กรกฎาคม 2531 มหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 9 มิถุนายน 2539 และในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 นี้ รัฐบาลและประชาชนชาวไทย ได้พร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล ด้วยความกตัญญูกตเวที สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม อย่างสมพระเกียรติทุก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น ( MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ ( MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (MERRIMENT) เมืองโลซานน์ (LASAGNA) ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติ ในระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาในแผนกวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมืองโลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช พระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ
ครั้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระนามว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมาพุเพียง 19 พรรษา เท่านั้น ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนารทนเรนทร และพระยามานวราชเทวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงบรรลุนิติภาวะ ทั้งยังทรงมีภารกิจในการศึกษาต่ออีกอย่างหนึ่งด้วย ทรงเสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 และเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์แทนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องด้วยทรงคำนึงถึงพระราชภารกิจในการปกครองประเทศเป็นสำคัญ
ระหว่างที่ประทับอยู่ต่างประเทศนั้น ได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิตติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ-กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และได้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสขึ้นในปี พ.ศ. 2493 และสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี
ทรงได้เข้าพิธีพระบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังจากพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้วได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทำการรักษาพระสุขภาพอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ตามคำแนะนำของแพทย์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ และทรงนิวัตกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2494
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี มีพระโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ ได้แก่
1.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับชาวต่างชาติ
2.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ต่อมาได้นับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาราช สยามมงกุฎราชกุมาร
3.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุรากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
4.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2500
พระราชประวัติการศึกษา
เมื่อพุทธศักราช 2475 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเจริญพระชนมายุ 5 พรรษา ได้ทรงเข้ารับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียน มาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ ขณะนั้น ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ การเมืองผันผวน ในเดือน กันยายน 2476 หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา จึงทรงนำพระธิดา พระโอรส เสด็จไปประทับ ณ กรุงโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงรับการศึกษา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเข้ารับการศึกษา ชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียน เมียร์มองต์ ชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน เอโกล นูแวล เดอ ลา สวิส โรมองต์ และโรงเรียน ยิมนาส กลาซีค กังโตนาล ตามลำดับ และทรงได้รับประกาศนียบัตร บาเชอลิเย เอ แลทร์ จากการศึกษา ดังกล่าวทรงรอบรู้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ละติน ต่อจากนั้น ทรงเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์
ครั้นถึงวันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติรัฐบาลจึงกราบทูลอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งสืบสายราชสันตติวงศ์ ลำดับที่ 1 และมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งได้ทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงสถาปนา หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา เป็น พระราชชนนีศรีสังวาลย์ และทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยานิวัฒนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช ได้โดยเสด็จพระบรมเชษฐาธิราช สมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ นิวัฒพระนคร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2481 ประทับ ณ พระตำหนัก จิตลดารโหฐาน สวนจิตลดา เป็นเวลา 2 เดือน แล้วเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์
ต่อมาได้เสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ 5 ธันวาคม 2488 ในครั้งนี้ ปวงชนชาวไทยในแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์มิได้ประทับเป็นประมุขยาวนานกว่า สิบปี ต่างปลาบปลื้มปิติชื่นชมโสมนัส ที่ได้ชื่นชมพระบารมี สมเด็จพระยุวกษัตริย์ ซึ่งมีพระชนมพรรษา เพียง 20 พรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระชนมพรรษา 18 พรรษา
ทั้งสองพระองค์เสด็จเสด็จพระราชดำเนินเคียงคู่กันไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ ที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง แต่ความชื่นชมโสมนัสนั้น ดำรงอยู่มินาน ครั้งถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง
พระราชประวัติเสด็จขึ้นครองราชย์
ขณะที่พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา 18 พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีงาศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน นั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และรัฐบาล ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ บริหารราชกาลแผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรงศึกษา ต่อ ณ ต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2498 ได้เสด็จพระราชดำเนิน กลับไปทรงศึกษา ต่อ ณ กรุงโลซานน์ แม้พระองค์จะทรงโปรดวิชาวิศวกรรมศาสตร์แต่เพื่อประโยชน์ในการปกครองประเทศได้ทรงเปลี่ยนมาศึกษา วิชาการปกครองแทน เช่น วิชากฎหมาย อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ทรงศึกษา และฝึกฝนการดนตรีด้วยพระองค์เองด้วย
ใน พ.ศ. 2491 ระหว่างทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงขับรถยนต์ไปทรงร่วมงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้ทรงพบและมีพระราชหฤทัยสนิทเสน่หาใน หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส
ในปีเดียวกันนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง ทรงบาทเจ็บที่พระพักตร์พระเนตรขวา และพระเศียร ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมอร์เซส์ โปรดฯให้หม่อมเจ้าราชวงศ์สิริกิติ์มาเฝ้าฯ ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระสัมพันธภาพจึงแน่นแฟ้นขึ้น และต่อมาได้ทรงหมั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 โดยได้พระราชทานพระธำมรงค์วงที่สมเด็จพระบรมราชนกหมั้นสมเด็จพระราชชนนี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการอภิบาลอย่างดียิ่งจากสมเด็จพระราชชนนี จึงมีพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง และมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการ ซึ่งน้อมนำให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงสิริราชสมบัติเพียบพร้อมด้วยทศพิศราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรมและราชสังคหวัตถุ ทรงเจริญด้วยพระเกียรติคุณบุญญาธิการเจิดจำรัส ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทุกทิศานุทิศในเวลาต่อมาตราบจนปัจจุบัน
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2493 และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ทรงจดทะเบียนสมรส ตามกฏหมายเช่นเดียวกับประชาชน ได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น พระราชินีสิริกิติ์
หลังจากนั้น ได้เสด็จไปประทับพักผ่อน ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน และที่นี่เป็นแหล่งเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ พระราชทาน “ ถนนสายห้วยมงคล” ให้แก่ “ ลุงรวย” และชาวบ้านที่มาช่วยกันเข็นรถพระที่นั่งขึ้นจากหล่มดิน ทั้งนี้เพราะแม้ “ ห้วยมงคล” จะอยู่ห่างอำเภอหัวหินเพียง 20 กิโลเมตร แต่ไม่มีถนนหนทาง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตมาก ถนนสายห้วยมงคล นี้จึงเป็นถนนสายสำคัญ ที่นำไปสู่โครงการในพระราชดำริ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรอีกจำนวนมากกว่า 2,000 โครงการในปัจจุบัน
พระบรมราชาภิเษก
วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
“ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”
และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”
ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
วันที่ 5 มิถุนายน 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ไปยังสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง เพื่อทรงรักษาพระสุขภาพ และเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร เมื่อ 2 ธันวาคม 2494 ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระที่นั่งอัมพรสถาน
ทั้งสองพระองค์มีพระราชธิดา และพระราชโอรส 4 พระองค์ดังนี้
1 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อ 4 เมษายน 2494 ณ โรงพยาบาลมองซัวนี่ โลซานน์
2 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อ 28 กรกฏคม 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมา ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ 28 กรกฏคม 2515
3 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลนโสภาคย์ ประสูติเมื่อ 2 เมษายน 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2520
4 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อ 4 กรกฏาคม 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
ทรงพระผนวช
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ปฏิบัติพระศาสนกิจ เป็นเวลา 15 วัน ระหว่างนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในรัชกาลนี้ ได้ทรงพระกรุณาสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมชนกนาถ ขึ้นเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงสถาปนา สมเด็จพระราชชนนี เป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสถาปนา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลนาณิวัฒนา กรมหลวงนราธวาสราชนครินทร์ และทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ใหม่ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2539 เพื่อให้สมพระเกียรติตามโบราณขัตติยราชประเพณี ทั้งนี้ด้วยพระจริยวัตรอันเปี่ยมด้วยพระกตัญญูกตเวทิตาธรรม อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ พระปรมาภิไธยใหม่ที่ทรงสถาปนาคือ
“ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศนิวิฐ ทศพิศราชธรรมอุกษฏนิบุณ อดุลยกฤษฏาภินิหารรังสฤษฏ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตร โสภาคย์สรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรษราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฏาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”
พระราชกรณียกิจ
ตั้งแต่พุทธศักราช 2502 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระฉับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และ เอเชีย และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ทุกภาคทรงประจักษ์ในปัญหาของราษฎร ในชนบทที่ดำรงชีวิตด้วยความยากจน ลำเค็ญ และด้อยโอกาส ได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะหาทางแก้ปัญหาตลอดมาตราบจนปัจจุบัน
อาจกล่าวได้ว่า ทุกหนทุกแห่งบนผืนแผ่นดินไทยที่รอยพระบาทได้ประทับลง ได้ทรงขจัดทุกข์ยากนำความผาสุกและทรงยกฐานะความเป็นอยู่ของราษฎร ให้ดีขึ้นด้วยพระบุญญาธิการ และพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง พร้อมด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของราษฏรและเพื่อความเจริญพัฒนาของประเทศชาติตลอดระยะเวลาโดยมิได้ทรงคำนึงประโยชน์สุขส่วนพระองค์เลย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการนานัปการมากกว่า 2,000 โครงการ ทั้งการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การสังคมวัฒนธรรม การคมนาคม ตลอดจนการเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในชนบท ทั้งยังทรงขจัดปัญหาทุกข์ยากของ ประชาชนในชุมชนเมือง เช่น ทรงแก้ปัญหาการจราจร อุทกภัยและปัญหาน้ำเน่าเสีย ในปัจจุบัน ได้ทรงริเริ่มโครงการการช่วยสงเคราะห์และอนุรักษ์ช้างของไทยอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรากตรำพระวรกายทรงงานอย่างมิทรงเหน็ดเหนื่อย แม้ในยามทรงพระประชวร ก็มิได้ทรงหยุดยั้งพระราชดำริเพื่อขจัดความทุกข์ผดุงสุขแก่พสกนิกร กลางแดดแผดกล้า พระเสโทหลั่งชุ่มพระพักตร์และพระวรกาย หยาดตกต้องผืนปถพี ประดุจน้ำทิพย์มนต์ ชโลมแผ่นดินแล้งร้าง ให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ ตราบจนปัจจุบันนานกว่า 53 ปี แล้ว
แม้ในยามประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ก็ได้พระราชทานแนวทางดำรงชีพแบบ “ เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ ทฤษฎีใหม่” ให้ราษฎรได้พึ่งตนเอง ใช้ผืนแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบอาชีพอยู่กินตามอัตภาพ ซึ่งราษฎรได้ยึดถือปฏิบัติเป็นผลดีอยู่ในปัจจุบัน
พระอัจฉริยภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานความรักอันยิ่งใหญ่แก่อาณาประชาราษฎร์ พระราชภารกิจอันหนักเพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ ปรากฏเป็นที่ประจักษ์เทิดทูนพระเกียรติคุณทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวโลก จึงทรงได้รับการสดุดีและการทูลเกล้าฯถวายปริญญากิตติมศักดิ์เป็นจำนวนมาก ทุกสาขาวิชาการ ทั้งยังมีพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีอย่างสูงส่ง ทรงพระราชนิพนธ์เพลงอันไพเราะนับแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวม 47 เพลง ซึ่งนักดนตรีทั้งไทยและต่างประเทศนำไปบรรเลงอย่างแพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพจนสถาบันดนตรีในออสเตรเลีย ได้ทูลเกล้าฯถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์แด่พระองค์
นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักกีฬาชนะเลิศรางวัลเหรียญทอง ในการแข่งขันกีฬาชีเกมส์ทรงได้รับยกย่องเป็น “ อัครศิลปิน” ของชาตินอกจากทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรีแล้ว ยังทรงสร้างสรรค์งานจิตกรรมและวรรณกรรมอันทรงคุณค่าไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ เช่น ทรงพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง ติโตนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ และพระราชนิพนธ์เรื่อง ชาดก พระมหาชนก พระราชทานคติธรรมในการดำรงชีวิตด้วยความวิริยอุตสาหะ อดทนจนพบความสำเร็จแก่พสกนิกรทั้งปวง
ปวงชนชาวไทยต่างมีความจงรักภัคดีเป็นที่ยิ่งดังปรากฏว่า ในวาระสำคัญ เช่น ศุภวาระเถลิงถวัลยราชครบ 25 ปี พระราชพิธีรัชดาภิเษก 9 มิถุนายน 2514 พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ทรงดำรงค์สิริราชสมบัติยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ 2 กรกฎาคม 2531 มหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 9 มิถุนายน 2539 และในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 นี้ รัฐบาลและประชาชนชาวไทย ได้พร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล ด้วยความกตัญญูกตเวที สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม อย่างสมพระเกียรติทุก
26 มกราคม 2559
ผู้ชม 2062 ครั้ง