ดูบทความ
ดูบทความแผนจัดการพลังงาน ภาคอุตสาหกรรม
แผนจัดการพลังงาน ภาคอุตสาหกรรม
หมวดหมู่:
ศูนย์การเรียนรู้ ไฟ LED ของ AEC
แผนจัดการพลังงาน ภาคอุตสาหกรรม รับมือขาดแคลน...สร้างความยั่งยืน
พลังงาน หนึ่งในต้นทุนการผลิตที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม การรู้จักใช้อย่างคุ้มค่านอกจากจะสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรแล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่าย มีความหมายต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กรวมแล้วกว่า 70,000 แห่ง และจากสัดส่วนการใช้พลังงานเมื่อแยกตามสาขาพบว่า ภาคอุตสาหกรรมมีการใช้พลังงานกว่า 40% ของกำลังการผลิตทั้งประเทศ รองลงมาเป็นสาขาธุรกิจรวมถึงการใช้ของภาครัฐและองค์กร บ้านเรือนที่อยู่อาศัย และภาคเกษตรกรรม โดย กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงาน สูงและคาดว่าอาจได้รับผลกระทบในช่วงต้นเดือนเมษายน ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ, อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ, อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก, อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์, อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมเครื่องเรือน เครื่องตกแต่งในอาคาร
อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับภาวะวิกฤติพลังงานที่อาจจะเกิดขึ้น ล่าสุดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำแนวคิด โครงการการจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรม (Total Energy Management : TEM) เป็นแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมโดยเน้นกระบวนการผลิตที่มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น ลดการสูญเสียจากการใช้พลังงานที่เกินความจำเป็นเพื่อให้วิสาหกิจสามารถลดต้นทุนด้านปริมาณการใช้พลังงานได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 และช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สามัคคี โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาการใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้ความรู้กล่าวถึงการจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์ฯ ว่า การใช้พลังงานขณะนี้เป็นต้นทุนอย่างหนึ่งในเรื่องของการผลิต หากดูภาพรวมของทั้งประเทศการใช้พลังงานภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิตโดยรวมมีการใช้ประมาณ 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นภาคขนส่งซึ่งมีความใกล้เคียงกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในภาคอุตสาหกรรมสามารถที่จะลดการใช้ค่าพลังงานลงได้หากมีการจัดการที่ถูกต้องซึ่งการใช้อย่างถูกต้องเกิดขึ้นได้ด้วยการวิเคราะห์ศักยภาพค่าพลังงานว่านำไปใช้ถูกต้องหรือไม่
ที่ผ่านมาหน่วยงานได้จัดทำโครงการการจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์หรือที่เรียกกันในชื่อ TEM ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมากว่า 10 ปีโดยเล็งเห็นประโยชน์ของภาคอุตสาหกรรมในการลดการใช้พลังงาน เพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบการและประเทศชาติ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
การจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโครงการฯ จะเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกส่วนในองค์กร ทั้งพนักงาน ฝ่ายสำนักงาน ฝ่ายผลิต ฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการออกแบบกระบวนการผลิตทุกส่วนงานต้องร่วมกันเพิ่มศักยภาพ
“ในการดำเนินงานที่ปรึกษาซึ่งมีความชำนาญองค์ความรู้เฉพาะทางจะเข้ามาช่วยฝึกอบรมพนักงานให้ได้เรียนรู้ในเรื่องกรอบการทำงานของโครงการฯ เมื่อจบโครงการแล้วพนักงานจะได้ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องไป โดยไม่ต้องพึ่งพาที่ปรึกษา ระหว่างโครงการจะมีการฝึกทำ เอนเนอร์จี้ชาร์จ เอนเนอร์จี้เลย์เอาต์ ตรวจวัดวิเคราะห์ค่าพลังงานอย่างถูกต้อง ทราบในข้อบกพร่อง ส่วนที่เกิน ส่วนขาดหายได้ และจากการดำเนินโครงการมีกลุ่มโรงงานที่อยู่ในเครือข่าย 734 แห่ง สามารถลดค่าพลังงานลงได้ร้อยละ 10-12”
อุษณี มีประเสริฐสกุล ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัทคอทโก้ พลาสติกส์จำกัด หนึ่งในบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ TEM เล่าถึงการจัดการพลังงานเตรียมความพร้อมช่วงเดือนเมษายนและแผนการใช้พลังงานในระยะยาวว่า การเข้าร่วมโครงการทำให้เกิดแนว ทางในการบริหารจัดการพลังงานในทิศทางที่เป็นระบบ สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิต วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับนโยบายการประหยัดพลังงานของกิจการ โดยทุกฝ่ายร่วมกันดำเนินการ ซึ่งก่อนเข้าร่วมโครงการฯ มีการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนมากทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง แต่หลังจากได้รับความร่วมมือคำปรึกษาแนะนำทำให้ลดการใช้ลงได้ ซึ่งแผนลดการใช้พลังงาน ประกอบด้วย มาตรการลดการเดินเครื่องจักรเปล่า ลดอุณหภูมิห้องจากเดิมอยู่ที่ประมาณ 41 องศาฯ แต่หลังจากได้รับคำแนะนำทำที่ระบายอากาศทำให้อุณหภูมิห้องลดลงเหลือประมาณ 30 องศาฯสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร ฯลฯ
การจัดการพลังงานที่ผ่านมาสามารถประหยัดได้ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งในความภูมิใจเป็นสิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับพนักงาน ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์พลังงานทำให้ทุกอย่างประสบความสำเร็จ ส่วนช่วงต้นเดือนเมษายนมาตรการจัดการพลังงานที่ได้เตรียมความพร้อมไว้ อาทิ ลดไฟฟ้าแสงสว่างที่ไม่จำเป็นในอาคารโรงงานและในสำนักงานโดยการเปิดสลับปิดเป็นระยะ พนักงานสวมใส่ชุดทำงานที่สบายตัวไม่ร้อนอย่าง ผ้าฝ้าย ลดการใช้เครื่องปรับอากาศโดยปรับอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ปิดเครื่องก่อนพักเที่ยงและก่อนเลิกงาน 15 นาที ปิดหน้าจอคอมพ์ ที่ไม่ใช้งานในเวลาเที่ยง-บ่ายโมง รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานเปิดเครื่องจักรช่วงเวลาพีค ฯลฯ
ขณะที่พลังงานเป็นต้นทุนสำคัญผู้อำนวยการส่วนพัฒนาการใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ฝากมุมมองการจัดการพลังงานอีกว่าในเรื่องของพลังงานมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบซึ่งก็ได้ผสานความร่วมมือร่วมกันคิดค้น ศึกษาพลังงานทดแทนพลังงานทางเลือกไม่ว่าจะเป็น ไบโอแก๊ส พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ฯลฯ ซึ่งสามารถนำเข้ามาช่วยในภาคอุตสาหกรรมได้ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานไม่ว่าจะเป็นพลังงานด้านใดคงต้องใช้อย่างรู้ค่าและไม่ใช่แค่เรื่องการให้คำแนะนำ แต่ต้องปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนสืบไป.
ทางบริษัท แอลอีดีเซฟ (ประเทศไทย) จำกกัด ได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุน ให้ภาคส่วนโรงงานอุตสาหกรรม หันมาให้ความสำคัญกับการวางแผน ประหยัดพลัดพลังงาน ช่วยชาติ ด้วยนวัตกรรม ไฟ LED ซึ่งสามารถช่วยให้ภาคส่วนโรงงานลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้สูง 75 %
พลังงาน หนึ่งในต้นทุนการผลิตที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม การรู้จักใช้อย่างคุ้มค่านอกจากจะสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรแล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่าย มีความหมายต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กรวมแล้วกว่า 70,000 แห่ง และจากสัดส่วนการใช้พลังงานเมื่อแยกตามสาขาพบว่า ภาคอุตสาหกรรมมีการใช้พลังงานกว่า 40% ของกำลังการผลิตทั้งประเทศ รองลงมาเป็นสาขาธุรกิจรวมถึงการใช้ของภาครัฐและองค์กร บ้านเรือนที่อยู่อาศัย และภาคเกษตรกรรม โดย กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงาน สูงและคาดว่าอาจได้รับผลกระทบในช่วงต้นเดือนเมษายน ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ, อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ, อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก, อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์, อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมเครื่องเรือน เครื่องตกแต่งในอาคาร
อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับภาวะวิกฤติพลังงานที่อาจจะเกิดขึ้น ล่าสุดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำแนวคิด โครงการการจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรม (Total Energy Management : TEM) เป็นแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมโดยเน้นกระบวนการผลิตที่มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น ลดการสูญเสียจากการใช้พลังงานที่เกินความจำเป็นเพื่อให้วิสาหกิจสามารถลดต้นทุนด้านปริมาณการใช้พลังงานได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 และช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สามัคคี โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาการใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้ความรู้กล่าวถึงการจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์ฯ ว่า การใช้พลังงานขณะนี้เป็นต้นทุนอย่างหนึ่งในเรื่องของการผลิต หากดูภาพรวมของทั้งประเทศการใช้พลังงานภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิตโดยรวมมีการใช้ประมาณ 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นภาคขนส่งซึ่งมีความใกล้เคียงกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในภาคอุตสาหกรรมสามารถที่จะลดการใช้ค่าพลังงานลงได้หากมีการจัดการที่ถูกต้องซึ่งการใช้อย่างถูกต้องเกิดขึ้นได้ด้วยการวิเคราะห์ศักยภาพค่าพลังงานว่านำไปใช้ถูกต้องหรือไม่
ที่ผ่านมาหน่วยงานได้จัดทำโครงการการจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์หรือที่เรียกกันในชื่อ TEM ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมากว่า 10 ปีโดยเล็งเห็นประโยชน์ของภาคอุตสาหกรรมในการลดการใช้พลังงาน เพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบการและประเทศชาติ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
การจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโครงการฯ จะเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกส่วนในองค์กร ทั้งพนักงาน ฝ่ายสำนักงาน ฝ่ายผลิต ฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการออกแบบกระบวนการผลิตทุกส่วนงานต้องร่วมกันเพิ่มศักยภาพ
“ในการดำเนินงานที่ปรึกษาซึ่งมีความชำนาญองค์ความรู้เฉพาะทางจะเข้ามาช่วยฝึกอบรมพนักงานให้ได้เรียนรู้ในเรื่องกรอบการทำงานของโครงการฯ เมื่อจบโครงการแล้วพนักงานจะได้ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องไป โดยไม่ต้องพึ่งพาที่ปรึกษา ระหว่างโครงการจะมีการฝึกทำ เอนเนอร์จี้ชาร์จ เอนเนอร์จี้เลย์เอาต์ ตรวจวัดวิเคราะห์ค่าพลังงานอย่างถูกต้อง ทราบในข้อบกพร่อง ส่วนที่เกิน ส่วนขาดหายได้ และจากการดำเนินโครงการมีกลุ่มโรงงานที่อยู่ในเครือข่าย 734 แห่ง สามารถลดค่าพลังงานลงได้ร้อยละ 10-12”
อุษณี มีประเสริฐสกุล ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัทคอทโก้ พลาสติกส์จำกัด หนึ่งในบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ TEM เล่าถึงการจัดการพลังงานเตรียมความพร้อมช่วงเดือนเมษายนและแผนการใช้พลังงานในระยะยาวว่า การเข้าร่วมโครงการทำให้เกิดแนว ทางในการบริหารจัดการพลังงานในทิศทางที่เป็นระบบ สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิต วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับนโยบายการประหยัดพลังงานของกิจการ โดยทุกฝ่ายร่วมกันดำเนินการ ซึ่งก่อนเข้าร่วมโครงการฯ มีการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนมากทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง แต่หลังจากได้รับความร่วมมือคำปรึกษาแนะนำทำให้ลดการใช้ลงได้ ซึ่งแผนลดการใช้พลังงาน ประกอบด้วย มาตรการลดการเดินเครื่องจักรเปล่า ลดอุณหภูมิห้องจากเดิมอยู่ที่ประมาณ 41 องศาฯ แต่หลังจากได้รับคำแนะนำทำที่ระบายอากาศทำให้อุณหภูมิห้องลดลงเหลือประมาณ 30 องศาฯสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร ฯลฯ
การจัดการพลังงานที่ผ่านมาสามารถประหยัดได้ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งในความภูมิใจเป็นสิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับพนักงาน ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์พลังงานทำให้ทุกอย่างประสบความสำเร็จ ส่วนช่วงต้นเดือนเมษายนมาตรการจัดการพลังงานที่ได้เตรียมความพร้อมไว้ อาทิ ลดไฟฟ้าแสงสว่างที่ไม่จำเป็นในอาคารโรงงานและในสำนักงานโดยการเปิดสลับปิดเป็นระยะ พนักงานสวมใส่ชุดทำงานที่สบายตัวไม่ร้อนอย่าง ผ้าฝ้าย ลดการใช้เครื่องปรับอากาศโดยปรับอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ปิดเครื่องก่อนพักเที่ยงและก่อนเลิกงาน 15 นาที ปิดหน้าจอคอมพ์ ที่ไม่ใช้งานในเวลาเที่ยง-บ่ายโมง รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานเปิดเครื่องจักรช่วงเวลาพีค ฯลฯ
ขณะที่พลังงานเป็นต้นทุนสำคัญผู้อำนวยการส่วนพัฒนาการใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ฝากมุมมองการจัดการพลังงานอีกว่าในเรื่องของพลังงานมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบซึ่งก็ได้ผสานความร่วมมือร่วมกันคิดค้น ศึกษาพลังงานทดแทนพลังงานทางเลือกไม่ว่าจะเป็น ไบโอแก๊ส พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ฯลฯ ซึ่งสามารถนำเข้ามาช่วยในภาคอุตสาหกรรมได้ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานไม่ว่าจะเป็นพลังงานด้านใดคงต้องใช้อย่างรู้ค่าและไม่ใช่แค่เรื่องการให้คำแนะนำ แต่ต้องปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนสืบไป.
ทางบริษัท แอลอีดีเซฟ (ประเทศไทย) จำกกัด ได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุน ให้ภาคส่วนโรงงานอุตสาหกรรม หันมาให้ความสำคัญกับการวางแผน ประหยัดพลัดพลังงาน ช่วยชาติ ด้วยนวัตกรรม ไฟ LED ซึ่งสามารถช่วยให้ภาคส่วนโรงงานลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้สูง 75 %
26 มกราคม 2559
ผู้ชม 3934 ครั้ง