ดูบทความ
ดูบทความเจาะลึก 5 สุดยอด เทคโนโลยีแห่งทศวรรษ
เจาะลึก 5 สุดยอด เทคโนโลยีแห่งทศวรรษ
หมวดหมู่:
ศูนย์การเรียนรู้ ไฟ LED ของ AEC
เจาะลึก 5 สุดยอด เทคโนโลยีแห่งทศวรรษ
คำว่าเทคโนโลยีหมายถึง องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม การใช้วิธีการเหล่านั้นในอุตสาหกรรมหรือเป็นเครื่องจักรอุปกรณ์และวิธีการต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้นั้น กล่าวโดยสรุป คือ เทคโนโลยี คือ องค์ความรู้ รู้ว่าจะทำอย่างไร เช่น รู้ว่าจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างไร จะผลิตสบู่ได้อย่างไร เป็นต้น ส่วนวิทยาศาสตร์หมายถึง องค์ความรู้ที่ใช้อธิบายว่า รู้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น วิธีการที่จะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ ให้เกิดสิ่งที่มองเห็นได้ วัดได้ หรือจับต้องได้ แต่บ่อยครั้งที่ความหมายของเทคโนโลยีถูกไปใช้ในความหมายของวิศวกรรม แต่ที่จริงทั้ง 2 มีความหมายแตกต่างกัน แต่ก็เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด โดยวิศวกรรมหมายถึง ทำอย่างไร และจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ วิศวกรรมเป็นการแปลงองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีที่ได้จากการศึกษาทดลองในห้องปฏบัติการไปสู่การใช้งานในทางปฏิบัติในเชิงพาณิชน์หรืออุตสาหกรรมนั่นเอง
อันดับ 1 เทคโนโลยีสมาร์ทโฟน (Smart Phones)
เป็นสุดยอดแห่งเทคโนโลยีแห่งทศวรรษอันดับ 1 ต้องเป็นโทรศัพท์อัจฉริยะ หรือ สมาร์ทโฟน นั่นเอง สมาร์ทโฟนหมายถึง โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีประสิทธิภาพในการประมวลผลและสามารถทำการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สาย เพื่อการสื่อสารข้อมูลด้วยขีดความสามารถที่เหนือกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป
โดยสมาร์ทโฟนเกิดจากการรวมฟังก์ชันการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก (Personal Digital Assistant: PDA)เข้ากับฟังก์ชันการทำงานของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเทคโนโลยีของสมาร์ทโฟนในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะโดยทั่วไปก็จะมีฟีเจอร์ที่เหนือกว่า และเทคโนโลยีสมาร์ทดังกล่าว ยังเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับวัตกรรมใหม่ๆทั้งด้านฮาร์อแวร์และซอฟแวร์ อีกด้วย
หากเรามองย้อนกลับไปในอดีตจะเห็นว่า เราต้องใช้เวลากว่าครึ่งศตวรรษที่จะทำให้ขนาดของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดประมาณเทียบเท่ากับห้องรับแขกให้มีขนาดลดลงเหลือเพียงเท่ากับขนาดของกระเป๋าเดินทาง และเราต้องใช้เวลาอีกกว่าทศวรรษเพื่อจะลดขนาดลงให้เหลือเพียงเท่ากับขนาดของกระเป๋าสตางค์ เทคโนโลยีสมาร์ทโฟนสามารถใช้ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ถ่ายรูป เล่นเน็ต เป็นต้น และในยุคปัจจุบันสมาร์ทโฟนยังสามารถทำตัวเป็นจุดต่อ WI-FI ที่สามารถใช้แทน wireless router และโมเดมได้อีกด้วย
หากเราย้อนกลับไปในปี พ.ศ.2516 Mr.Martin Cooper ผู้คิดค้นโทรศัพท์มือถือ และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Motorola ไม่ได้คาดคิดว่าจะสร้างโทรศัพท์ที่มีคุณลักษณะอย่างสมาร์ทโฟนในปัจจุบันแต่อย่างใดสิ่งที่เขาต้องการเพียงแค่จะลดขนาดของโทรศัพท์ที่ใช้ในรถยนต์ (ณขณะนั้นมีขนาดใหญ่มาก) ให้มีขนาดเล็กลงเหลือเท่ากับขนาดของก้อนอิฐเท่านั้น แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมาส่งผลทำให้โทรศัพท์มือถือเปรีบนเสมือนอวัยวะหนึ่งในร่างกายไปโดยปริยาย นอกจากนี้ในอดีตหน้าที่หลักของโทรศัพท์ คือการโทรเข้า-โทรออก และส่งข้อความเป็นหลักเท่านั้น แต่จากการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนส่งผลทำให้พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง การสื่อสารหลักที่ทำผ่านสมาร์ทโฟน ได้แก่ การใช้อินเตอร์เน็ต เช็คอีเมล ใช้งานด้านบันเทิง และเกมส์ต่างๆ สำหรับความแตกต่างหลักระหว่างโทรศัพท์มือถือทั่วไป กับสมาร์ทโฟนจะได้แก่ความก้าวหน้าในเรื่องของระบบฮาร์ดแวร์ซอฟแวร์ และระบบเน็ตเวิร์ค(network infrastructure)
โดยสมาร์ทโฟนจะใช้เทคโนโลยีจอเบบสัมผัสที่มีความละเอียดสูง ซีพียู สมรรถนะสูงหน่วยความจำขนาดใหญ่รวมถึงเทคโนโลยีชิปเซ็ตจีพีเอส(global positioning systems: GPS) สำหรับใช้บอกพิกัดสัณญาณดามเทียม เป็นต้นและสำหรับซอฟแวร์ระบบปฏบัติ(operating system)ถือว่าเป็นหัวใจหลักสมาร์ทโฟนโดยทั่วไประบบปฏบัติการจะออกแบบให้สามารถรองรับแอปพลิเคชันของบริษัทอื่นๆผลทำให้ความสามารถของสมาร์ทโฟนขยายออกไปอย่างไม่มีขีดจำกัดและโดยอาศัยเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง(cloud computing)ทำให้สมาร์ทโฟนสามารถใช้งานทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกออนไลน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การคาดการณ์เมื่อปี พ.ศ.2533โดยบิล เกตต์ ผู้ก่อตั้งบริษัท ไมโครซอฟท์เป็นจริงว่าข้อมูลข่าวสารต่างๆจะอยู่เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส และอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อพัฒนาการที่สำคัญของสมาร์ทโฟน ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของแบนด์วิธของระบบไร้สาย(wireless)อย่าลืมว่า iPhone เพิ่งมีอายุได้เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น ตอนที่ออกมาแรกๆมีเพียงแค่ระบบ WI-FI ที่คลอบคลุมพื้นที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตเฉพาะจุด และขณะนั้นยังไม่มีระบบ 3G ที่มีความสามารถสูงกว่าระบบเดิมมาก และยังคลอบคลุมพื้นที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างกว้างขวางอีกด้วย นอกจากนั้นในปัจจุบันได้มีการเริ่มใช้งานในระบบ 4G กันบ้างแล้ว
อันดับ 2 เครือข่ายสังคมออนไลน์ (social networking)
ในทศวรรษที่ผ่านมาไม่ใช่เรื่องง่ายเลยในการที่เราจะสามารถทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่และคงจะต้องใช้เวลานานจะสามารถทำความรู้จักกันได้ แต่ด้วยการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีเครือข่ายสังคมออนไลน์ทำให้งานที่ยากกลับกลายเป็นเรื่องง่ายเพียงแค่คลิ๊กเมาส์เท่านั้นเอง โดยเครือข่ายสังคมออนไลน์เกิดขึ้นเมื่อประมาณปลายปี พ.ศ.2533 และเป็นที่รู้จักเมื่อประมาณเดือนมีนาคม ปีพ.ศ.2546 ในชื่อ Frinendster ซึ่งแนวความคิดริเริ่มเกิดจากความต้องการที่จะใช้อินเตอร์เน็ตในการนัดสังสรรค์ระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วยกัน โดยผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกจะต้องกรอกประวัติพร้อมรูปถ่ายของตัวเองและสามารถเชิญเพื่อนเข้าร่วมกลุ่มได้อีก ซึ่งระบบของ Frinendster จะทำการอัปเดทข้อมูลของเพื่อน และรวมถึงเพื่อนของเพื่อนผู้ใช้อยู่ตลอดเวลามีระบบที่ทำการแยกสถานะหรือความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนอีกด้วยไม่น่าแปลกใจที่ Frinendster ใช้เวลาเพียงแค่ 9 เดือนก็มีสมาชิกสูงถึงล้านคน นอกจากนั้น Frinendster ยังโด่งดังเป็นที่รู้จักถึงขนาดที่นิตยาสารชื่อดังอย่าง ฟอร์จูน ได้กล่าวถึงการมาถึงของเครือข่ายสังคมออนไลน์อีกด้วยว่า เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ความสามารถในการติดต่อสื่อสารได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น สามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อระหว่างคนกับคนได้อีกด้วย มีสังคมออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย ณ ปัจจุบันเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็น Facebook มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้นประมาณ 540 ล้านคนทั่วโลกและสมาชิกต่างๆ ใช้เวลากับ Facebook รวมทั้งสิ้นประมาณ700,000 ล้านนาที/เดือน
ความพ่ายแพ้ของ Frinendster เกิดจากความผิดพลาดเดียวคือ ไม่สามารถบริหารจัดการผู้ใช้ที่เข้ามาอย่างมากมายได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยในปลายปี พ.ศ.2546 Frinendster มีผู้ใช้สมัครทั้งสิ้น 9,500 คน/วัน ทำให้บริษัทมีปัญหาในการจัดซื้อจัดหาเซิร์ฟเวอร์เพื่อรองรับกับอัตราการเติบโตของจำนวนสมาชิกที่สูงในระดับนั้นได้ ในการรอคอยที่ยาวนานมากในการเข้าหน้าโฮมเพจหลักของ Frinendster เป็นผลทำให้ My Space ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายแทน My Space ก่อตั้งโดย Mr. Chris Dewolfe & Mr. Tom Anderson มีสมาชิกในปี พ.ศ.2550 ถึง72 ล้านคนใน 70 ประเทศทั่วโลก My Space ก็อยู่ได้ไม่นาน ประมาณเดือนกันยายน พ.ศ.2552 บริษัทมียอดสมาชิกลดลงเหลือเพียง 30% ความผิดพลาดเกิดจากการที่ My Space ละเลยที่จะพัฒนาเครื่องมือช่วยให้ผู้ใช้สามารถแชร์ข้อมูลต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่กลับไปทุ่มเทเพื่อพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น ดูดวง หางาน หรือการแชร์วีดีโอผ่านYou Tube และเรียกว่า My Space TV เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้หลายๆคนรู้สึกว่ายุ่งเหยิงจนเกินไป
และด้วยการเรียนรู้ข้อเสียต่างๆจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้า เป็นผลทำให้ Facebook ที่ก่อตั้งโดย Mr. Mark Zuckerberg ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในปัจจุบันและโด่งดังในขนาดที่ว่านิตยาสารไทม์ ยกย่องให้เป็นบุคคลแห่งปี พ.ศ.2553 อีด้วย
อันดับ 3 วอยซ์โอวอร์ไอพี (voice over internet protocol)
ในอดีตที่ผ่านมาเทคโนโลยีโทรศัพท์ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันที่ระยะทางไกลๆโดยผ่านสายโทรศัพท์และต้องรอจนกระทั่งในปี พ.ศ.2533 เมื่อโทรศัพท์ไร้สายเกิดขึ้นทำให้การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ทุกหนทุกแห่ง เพราะไม่มีข้อจำกัดในด้านสายโทรศัพท์อีกต่อไป แต่อันที่จริงแล้ว เทคโนโลยีที่เปลี่ยนโฉมหน้าอย่างแท้จริงเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2543 อินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นเครือข่ายโทรศัพท์ของโลก โดยอาศัยเทคโนโลยี(voice over internet protocol)หรือ(VoIP) ใช้ในการส่งการสื่อสารผ่านทางเสียงและมัลติมีเดียต่างๆผ่านทางโครงข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถสนทนาระหว่างกันได้และยังรวมถึงการสนทนากับโทรศัพท์พื้นฐานไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์บ้านหรือโทรศัพท์มือถือได้อีกด้วย คุณภาพของสันญาณก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆจนเทียบเท่าระบบโทรศัพท์พื้นฐานในปัจจุบัน เป็นต้น หากพิจารณาจำนวนผู้ใช้ สไกป์(Skype) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ.2546 โดย Mr. Niklas Zennstrom & Mr. Janus Friis ในปัจจุบันมีสมาชิกอยู่มากกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกและถือได้ว่าเป็นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใหญ่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้อดีของการติดต่อสื่อสารผ่านทางสไกป์ คือ ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างสไกป์ด้วยกันโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายไม่ว่าผู้ใช้จะที่ใดก็ตามแต่หากผู้ใช้สไกป์ทำการติดต่อสื่อสารกับโทรศัพท์บ้านหรือโทรศัพท์มือถือก็จะคิดค่าบริการในราคาที่ถูกเมื่อเทียบกับการโทรผ่านโทรศัพท์ธรรมดา
จุดเริ่มต้นของการใช้งานโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่เป็นที่แน่ชัดเทคโนโลยี (VoIP) เริ่มต้นในปี พ.ศ.2532 โดย Mr. Alon Cohen & Mr. Lior Haramaty ผู้ก่อตั้งบริษัท VocalTec Communications ในประเทศอิสราเอล ซึ่งได้รับไอเดียมาจากการติดต่อสื่อสารคำสั่งลับสุดยอดที่ใช้ในงานทหารและในปี พ.ศ.2538 ในขณะที่ผู้คนกำลังคลั่งไคล้โทรศัพท์มือถือกันอย่างสุดเหวี่ยง บริษัท VocalTec Communications ได้ออกซอฟต์แวร์โทรศัพท์อินเตอร์เน็ต หรือ VoIP ตัวแรก ซึ่งสามารถใช้กับ windows บนเครื่อง PC ที่ใช้ตามบ้านโดยผ่านโมเดมหรือผ่าน App ของ iPhon ได้สำเร็จโดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องซื้อฮาร์ดแวร์ใดๆ เพิ่มเติมและในอนาคตในยุคต่อไปที่มาตรฐานโทรศัพท์มือถือเข้าสู่ 4G หรือ LTE(Long Term Evolution)ซึ่งจะเป็นยุคที่การติดต่อสื่อสารจะอยู่ในรูปแบบของ IP-based Platform เทคโนโลยี VoIP จะไม่เป็นแค่ตัวเลือกอีกต่อไป แต่จะเป็นเทคโนโลยีหลักเลยทีเดียว
อันดับ 4 ผลิตภัณฑ์ส่องสว่างแอลอีดี ( ไฟ LED Lighting)
ในทศวรรษที่ 20 หลอดแอลอีดี (light emitting diodes: LED)มักจะถูกเป็นไฟแสดงสถานการณ์ทำงานของวิทยุทั่วๆไป หรืออาจจะถูกใช้เป็นหน้าจอและไฟปุ่มกดในโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันหลอดแอลอีดีก็ถูกนำมาใช้เป็นหน้าจอโน๊ตบุ๊ค ใช้ทำจอโทรทัศน์และในท้ายที่สุดเทคโนโลยีหลอดแอลอีดีที่จะมาหน้าที่แทนหลอดไส้(incandescent lamps)และหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์(fluorescent lamps)ที่ใช้ตามบ้าน สาเหตุของการปฏิบัติเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์แสงสว่างที่กำลังเกิดขึ้นนี้ เกิดจากราคาต่อหน่วยของหลอดแอลอีดีที่มีราคาถูกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 เป็นต้นมา หากทำการเปรียบเทียบต่อหนึ่งวัตต์ หลอดแอลอีดีสีแดงสามารถให้แสงสว่างสูงกว่าหลอดไฟฟ้าทั่วไป 20 เท่า โดยมีราคาถูกกว่า 90% เป็นไปกฎ Haitz’s law และก็ยังคงเป็นจริงกับหลอดแอลอีดีสีเหลืองและสีน้ำเงินที่เกิดขึ้นในภายหลัง แต่สำหรับหลอดแอลอีดีสีขาวซึ่งถูกนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ส่องสว่างในปัจจุบันเริ่มต้นขึ้นเมื่อทศวรรษที่แล้ว
หลอดแอลอีดีมีข้อดีต่างๆมากมาย เช่น ตัวหลอดทนทานต่อแรงกระทบกระแทกต่างๆ อายุการใช้งานมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนส์ และหลอดไส้ มีประสิทธิภาพสูง กินไฟน้อย เกิดความร้อนต่ำขณะใช้งานเปิด-ปิดได้หลายครั้งโดยไม่มีผลต่ออายุการใช้งาน มีขนาดเล็ก ติดตั้งตามกำแพงต่างๆได้ง่าย เป็นต้น และด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีวัสดุสารกึ่งตัวนำและเทคโนโลยีวิศวกรรมด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องทำให้อีกไม่นานหลอดแอลอีดี จะเข้ามามีบทบาทแทนที่ไฟทุกประเภทในอดีต
อันดับ 5 มัลติคอร์ซีพียู (Multicore CPUs)
ศาสตราจารย์ Kunle Olukotun ผู้คิดค้นมัลติคอร์ซีพียู
ย้อนกลับไปในปี พ.ศ.2537 นักโปรแกรมเมอร์ต่างก็ทราบกันดีว่า ไม่ว่าโปรแกรมที่เขาเขียนจะดีเพียงไร ความเร็วในการประมวลผลจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50% เมื่อทำงานบนคอมพิวเตอร์ ในปี พ.ศ.2538 และจะทำงานเร็วขึ้นอีก 50% เมื่อทำงานบนระบบ ในปี พ.ศ.2539 โดยที่รูปแบบของการเขียนโปรแกรมก็ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และโปรแกรมที่เขียนก็จะถูกประมวลผลทีละคำสั่ง แต่ศาสตราจารย์ Kunle Olukotun ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าแห่งมหาลัยสแตนฟอร์ด กลับไม่ได้คิดว่าจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป เขาคิดว่าไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้ ณ ขณะนั้นไม่ได้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพตามสมรรถนะของอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นตามกฎของมัวร์ (moore’s law) และเพื่อแก้ปัญาหาดังกล่าว ศาสตราจารย์ Kunle Olukotun ได้ออกแบบมัลติคอร์ซีพียูตัวแรกขึ้นมาทำให้สมรรถนะของซีพียูเป็นไปตามกฎของมัวร์ได้ในที่สุด หากไม่มีการคิดค้นมัลติคอร์ซีพียูนี้ สมรรถนะคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันคงจะไม่แตกต่างจากทศวรรษที่ผ่านมาในอดีต มัลติคอร์ซีพียูหมายถึง ชิปไอทีที่ภายในประกอบไปด้วยหน่วยประมวลผลมากกว่า2 (1หน่วยประมวลผลเท่ากับ1คอร์) โดยจุดประสงค์ในการเพิ่มหน่วยประมวลผลภายในชิปเดียวก็เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงาน ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลสูงขึ้น คือการสร้างกลไกในการประมวลผลมากกว่า1ชุดในชิปเพียงตัวเดียวได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในขณะเดียวกันยังช่วยลดการใช้พลังงานให้อยู่ในระดับต่ำ เมื่อมีการเปลี่ยนจากเทคโนโลยีที่ใช้ซีพียูแบบคอร์เดียวมาเป็นมัลติคอร์ สิ่งที่ตามมา คือ รูปแบบการเขียนโปรแกรมและการประมวลผลโปรแกรมต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบไปด้วยและข้อเสียหลักๆ ของเทคโนโลยีมัลติคอร์คือ ความยากในการผลิตเนื่องจากต้องการความละเอียดในการผลิตสูงมาก ทำให้มัลติคอร์ซีพียูมีราคาแพง นอกจากนั้นแอปพลิเคชันต่างๆจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องรองรับการทำงานแบบมัลติคอร์ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้นาย จัสติน แรทเนอร์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอินเทลได้กล่าวกับผู้ร่วมงาน อินเทล ดิเวลอปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ) ถึงผลที่เกิดขึ้นจากการนำระบบประมวลผลแบบมัลติคอร์มาใช้อย่างแพร่หลายว่าเป็นเพียงตัวอย่างของภาพที่สะท้อนให้เห็นว่าอนาคตของระบบประมวลผลกลังเกิดขึ้นแล้วในขณะนี้ และได้อธิบายถึงแอปพลิเคชันล่าสุดของเทคโนโลยีพร้อมด้วยเครื่องมือในการพัฒนาซอฟแวร์และเทคนิคในการเขียนโปรแกรมที่สามารถช่วยให้นักใช้ปรโยชน์จากพลังของระบบประมวลผลแบบมัลติคอรำด้อย่างเต็มที่ สำหรับงานหลากหลายประเภททำให้เกิดข้อดีหลายประการด้วย ไม่ว่าจะเป็นทำให้เว็บแอปพลิเคชันที่เร็วกว่าเดิม เช่น การขยายขีดความสามารถของจาวาสคิปท์ ให้มีคุณสมบัติในการเขียนโปรแกรมจัดการกับข้อมูลแบบคู่ขนาน และยังทำให้บริการจากระบบคลาวด์ที่ตอบสนองได้ดีขึ้น เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มในการพัฒนามัลติคอร์ซีพียูจะมีการเปลี่ยนจากชิปที่มีจำนวนคอร์ภายในเท่ากับ 2 3 4 6 หรือ 8คอร์ไปสู่ชิปที่มีจำนวนคอร์ภายในหลาย 10 หรือหลายร้อยคอร์ภายในชิปเดียวในที่สุด
คำว่าเทคโนโลยีหมายถึง องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม การใช้วิธีการเหล่านั้นในอุตสาหกรรมหรือเป็นเครื่องจักรอุปกรณ์และวิธีการต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้นั้น กล่าวโดยสรุป คือ เทคโนโลยี คือ องค์ความรู้ รู้ว่าจะทำอย่างไร เช่น รู้ว่าจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างไร จะผลิตสบู่ได้อย่างไร เป็นต้น ส่วนวิทยาศาสตร์หมายถึง องค์ความรู้ที่ใช้อธิบายว่า รู้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น วิธีการที่จะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ ให้เกิดสิ่งที่มองเห็นได้ วัดได้ หรือจับต้องได้ แต่บ่อยครั้งที่ความหมายของเทคโนโลยีถูกไปใช้ในความหมายของวิศวกรรม แต่ที่จริงทั้ง 2 มีความหมายแตกต่างกัน แต่ก็เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด โดยวิศวกรรมหมายถึง ทำอย่างไร และจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ วิศวกรรมเป็นการแปลงองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีที่ได้จากการศึกษาทดลองในห้องปฏบัติการไปสู่การใช้งานในทางปฏิบัติในเชิงพาณิชน์หรืออุตสาหกรรมนั่นเอง
อันดับ 1 เทคโนโลยีสมาร์ทโฟน (Smart Phones)
เป็นสุดยอดแห่งเทคโนโลยีแห่งทศวรรษอันดับ 1 ต้องเป็นโทรศัพท์อัจฉริยะ หรือ สมาร์ทโฟน นั่นเอง สมาร์ทโฟนหมายถึง โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีประสิทธิภาพในการประมวลผลและสามารถทำการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สาย เพื่อการสื่อสารข้อมูลด้วยขีดความสามารถที่เหนือกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป
โดยสมาร์ทโฟนเกิดจากการรวมฟังก์ชันการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก (Personal Digital Assistant: PDA)เข้ากับฟังก์ชันการทำงานของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเทคโนโลยีของสมาร์ทโฟนในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะโดยทั่วไปก็จะมีฟีเจอร์ที่เหนือกว่า และเทคโนโลยีสมาร์ทดังกล่าว ยังเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับวัตกรรมใหม่ๆทั้งด้านฮาร์อแวร์และซอฟแวร์ อีกด้วย
หากเรามองย้อนกลับไปในอดีตจะเห็นว่า เราต้องใช้เวลากว่าครึ่งศตวรรษที่จะทำให้ขนาดของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดประมาณเทียบเท่ากับห้องรับแขกให้มีขนาดลดลงเหลือเพียงเท่ากับขนาดของกระเป๋าเดินทาง และเราต้องใช้เวลาอีกกว่าทศวรรษเพื่อจะลดขนาดลงให้เหลือเพียงเท่ากับขนาดของกระเป๋าสตางค์ เทคโนโลยีสมาร์ทโฟนสามารถใช้ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ถ่ายรูป เล่นเน็ต เป็นต้น และในยุคปัจจุบันสมาร์ทโฟนยังสามารถทำตัวเป็นจุดต่อ WI-FI ที่สามารถใช้แทน wireless router และโมเดมได้อีกด้วย
หากเราย้อนกลับไปในปี พ.ศ.2516 Mr.Martin Cooper ผู้คิดค้นโทรศัพท์มือถือ และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Motorola ไม่ได้คาดคิดว่าจะสร้างโทรศัพท์ที่มีคุณลักษณะอย่างสมาร์ทโฟนในปัจจุบันแต่อย่างใดสิ่งที่เขาต้องการเพียงแค่จะลดขนาดของโทรศัพท์ที่ใช้ในรถยนต์ (ณขณะนั้นมีขนาดใหญ่มาก) ให้มีขนาดเล็กลงเหลือเท่ากับขนาดของก้อนอิฐเท่านั้น แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมาส่งผลทำให้โทรศัพท์มือถือเปรีบนเสมือนอวัยวะหนึ่งในร่างกายไปโดยปริยาย นอกจากนี้ในอดีตหน้าที่หลักของโทรศัพท์ คือการโทรเข้า-โทรออก และส่งข้อความเป็นหลักเท่านั้น แต่จากการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนส่งผลทำให้พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง การสื่อสารหลักที่ทำผ่านสมาร์ทโฟน ได้แก่ การใช้อินเตอร์เน็ต เช็คอีเมล ใช้งานด้านบันเทิง และเกมส์ต่างๆ สำหรับความแตกต่างหลักระหว่างโทรศัพท์มือถือทั่วไป กับสมาร์ทโฟนจะได้แก่ความก้าวหน้าในเรื่องของระบบฮาร์ดแวร์ซอฟแวร์ และระบบเน็ตเวิร์ค(network infrastructure)
โดยสมาร์ทโฟนจะใช้เทคโนโลยีจอเบบสัมผัสที่มีความละเอียดสูง ซีพียู สมรรถนะสูงหน่วยความจำขนาดใหญ่รวมถึงเทคโนโลยีชิปเซ็ตจีพีเอส(global positioning systems: GPS) สำหรับใช้บอกพิกัดสัณญาณดามเทียม เป็นต้นและสำหรับซอฟแวร์ระบบปฏบัติ(operating system)ถือว่าเป็นหัวใจหลักสมาร์ทโฟนโดยทั่วไประบบปฏบัติการจะออกแบบให้สามารถรองรับแอปพลิเคชันของบริษัทอื่นๆผลทำให้ความสามารถของสมาร์ทโฟนขยายออกไปอย่างไม่มีขีดจำกัดและโดยอาศัยเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง(cloud computing)ทำให้สมาร์ทโฟนสามารถใช้งานทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกออนไลน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การคาดการณ์เมื่อปี พ.ศ.2533โดยบิล เกตต์ ผู้ก่อตั้งบริษัท ไมโครซอฟท์เป็นจริงว่าข้อมูลข่าวสารต่างๆจะอยู่เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส และอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อพัฒนาการที่สำคัญของสมาร์ทโฟน ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของแบนด์วิธของระบบไร้สาย(wireless)อย่าลืมว่า iPhone เพิ่งมีอายุได้เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น ตอนที่ออกมาแรกๆมีเพียงแค่ระบบ WI-FI ที่คลอบคลุมพื้นที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตเฉพาะจุด และขณะนั้นยังไม่มีระบบ 3G ที่มีความสามารถสูงกว่าระบบเดิมมาก และยังคลอบคลุมพื้นที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างกว้างขวางอีกด้วย นอกจากนั้นในปัจจุบันได้มีการเริ่มใช้งานในระบบ 4G กันบ้างแล้ว
อันดับ 2 เครือข่ายสังคมออนไลน์ (social networking)
ในทศวรรษที่ผ่านมาไม่ใช่เรื่องง่ายเลยในการที่เราจะสามารถทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่และคงจะต้องใช้เวลานานจะสามารถทำความรู้จักกันได้ แต่ด้วยการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีเครือข่ายสังคมออนไลน์ทำให้งานที่ยากกลับกลายเป็นเรื่องง่ายเพียงแค่คลิ๊กเมาส์เท่านั้นเอง โดยเครือข่ายสังคมออนไลน์เกิดขึ้นเมื่อประมาณปลายปี พ.ศ.2533 และเป็นที่รู้จักเมื่อประมาณเดือนมีนาคม ปีพ.ศ.2546 ในชื่อ Frinendster ซึ่งแนวความคิดริเริ่มเกิดจากความต้องการที่จะใช้อินเตอร์เน็ตในการนัดสังสรรค์ระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วยกัน โดยผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกจะต้องกรอกประวัติพร้อมรูปถ่ายของตัวเองและสามารถเชิญเพื่อนเข้าร่วมกลุ่มได้อีก ซึ่งระบบของ Frinendster จะทำการอัปเดทข้อมูลของเพื่อน และรวมถึงเพื่อนของเพื่อนผู้ใช้อยู่ตลอดเวลามีระบบที่ทำการแยกสถานะหรือความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนอีกด้วยไม่น่าแปลกใจที่ Frinendster ใช้เวลาเพียงแค่ 9 เดือนก็มีสมาชิกสูงถึงล้านคน นอกจากนั้น Frinendster ยังโด่งดังเป็นที่รู้จักถึงขนาดที่นิตยาสารชื่อดังอย่าง ฟอร์จูน ได้กล่าวถึงการมาถึงของเครือข่ายสังคมออนไลน์อีกด้วยว่า เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ความสามารถในการติดต่อสื่อสารได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น สามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อระหว่างคนกับคนได้อีกด้วย มีสังคมออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย ณ ปัจจุบันเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็น Facebook มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้นประมาณ 540 ล้านคนทั่วโลกและสมาชิกต่างๆ ใช้เวลากับ Facebook รวมทั้งสิ้นประมาณ700,000 ล้านนาที/เดือน
ความพ่ายแพ้ของ Frinendster เกิดจากความผิดพลาดเดียวคือ ไม่สามารถบริหารจัดการผู้ใช้ที่เข้ามาอย่างมากมายได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยในปลายปี พ.ศ.2546 Frinendster มีผู้ใช้สมัครทั้งสิ้น 9,500 คน/วัน ทำให้บริษัทมีปัญหาในการจัดซื้อจัดหาเซิร์ฟเวอร์เพื่อรองรับกับอัตราการเติบโตของจำนวนสมาชิกที่สูงในระดับนั้นได้ ในการรอคอยที่ยาวนานมากในการเข้าหน้าโฮมเพจหลักของ Frinendster เป็นผลทำให้ My Space ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายแทน My Space ก่อตั้งโดย Mr. Chris Dewolfe & Mr. Tom Anderson มีสมาชิกในปี พ.ศ.2550 ถึง72 ล้านคนใน 70 ประเทศทั่วโลก My Space ก็อยู่ได้ไม่นาน ประมาณเดือนกันยายน พ.ศ.2552 บริษัทมียอดสมาชิกลดลงเหลือเพียง 30% ความผิดพลาดเกิดจากการที่ My Space ละเลยที่จะพัฒนาเครื่องมือช่วยให้ผู้ใช้สามารถแชร์ข้อมูลต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่กลับไปทุ่มเทเพื่อพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น ดูดวง หางาน หรือการแชร์วีดีโอผ่านYou Tube และเรียกว่า My Space TV เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้หลายๆคนรู้สึกว่ายุ่งเหยิงจนเกินไป
และด้วยการเรียนรู้ข้อเสียต่างๆจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้า เป็นผลทำให้ Facebook ที่ก่อตั้งโดย Mr. Mark Zuckerberg ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในปัจจุบันและโด่งดังในขนาดที่ว่านิตยาสารไทม์ ยกย่องให้เป็นบุคคลแห่งปี พ.ศ.2553 อีด้วย
อันดับ 3 วอยซ์โอวอร์ไอพี (voice over internet protocol)
ในอดีตที่ผ่านมาเทคโนโลยีโทรศัพท์ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันที่ระยะทางไกลๆโดยผ่านสายโทรศัพท์และต้องรอจนกระทั่งในปี พ.ศ.2533 เมื่อโทรศัพท์ไร้สายเกิดขึ้นทำให้การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ทุกหนทุกแห่ง เพราะไม่มีข้อจำกัดในด้านสายโทรศัพท์อีกต่อไป แต่อันที่จริงแล้ว เทคโนโลยีที่เปลี่ยนโฉมหน้าอย่างแท้จริงเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2543 อินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นเครือข่ายโทรศัพท์ของโลก โดยอาศัยเทคโนโลยี(voice over internet protocol)หรือ(VoIP) ใช้ในการส่งการสื่อสารผ่านทางเสียงและมัลติมีเดียต่างๆผ่านทางโครงข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถสนทนาระหว่างกันได้และยังรวมถึงการสนทนากับโทรศัพท์พื้นฐานไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์บ้านหรือโทรศัพท์มือถือได้อีกด้วย คุณภาพของสันญาณก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆจนเทียบเท่าระบบโทรศัพท์พื้นฐานในปัจจุบัน เป็นต้น หากพิจารณาจำนวนผู้ใช้ สไกป์(Skype) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ.2546 โดย Mr. Niklas Zennstrom & Mr. Janus Friis ในปัจจุบันมีสมาชิกอยู่มากกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกและถือได้ว่าเป็นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใหญ่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ข้อดีของการติดต่อสื่อสารผ่านทางสไกป์ คือ ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างสไกป์ด้วยกันโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายไม่ว่าผู้ใช้จะที่ใดก็ตามแต่หากผู้ใช้สไกป์ทำการติดต่อสื่อสารกับโทรศัพท์บ้านหรือโทรศัพท์มือถือก็จะคิดค่าบริการในราคาที่ถูกเมื่อเทียบกับการโทรผ่านโทรศัพท์ธรรมดา
จุดเริ่มต้นของการใช้งานโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่เป็นที่แน่ชัดเทคโนโลยี (VoIP) เริ่มต้นในปี พ.ศ.2532 โดย Mr. Alon Cohen & Mr. Lior Haramaty ผู้ก่อตั้งบริษัท VocalTec Communications ในประเทศอิสราเอล ซึ่งได้รับไอเดียมาจากการติดต่อสื่อสารคำสั่งลับสุดยอดที่ใช้ในงานทหารและในปี พ.ศ.2538 ในขณะที่ผู้คนกำลังคลั่งไคล้โทรศัพท์มือถือกันอย่างสุดเหวี่ยง บริษัท VocalTec Communications ได้ออกซอฟต์แวร์โทรศัพท์อินเตอร์เน็ต หรือ VoIP ตัวแรก ซึ่งสามารถใช้กับ windows บนเครื่อง PC ที่ใช้ตามบ้านโดยผ่านโมเดมหรือผ่าน App ของ iPhon ได้สำเร็จโดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องซื้อฮาร์ดแวร์ใดๆ เพิ่มเติมและในอนาคตในยุคต่อไปที่มาตรฐานโทรศัพท์มือถือเข้าสู่ 4G หรือ LTE(Long Term Evolution)ซึ่งจะเป็นยุคที่การติดต่อสื่อสารจะอยู่ในรูปแบบของ IP-based Platform เทคโนโลยี VoIP จะไม่เป็นแค่ตัวเลือกอีกต่อไป แต่จะเป็นเทคโนโลยีหลักเลยทีเดียว
อันดับ 4 ผลิตภัณฑ์ส่องสว่างแอลอีดี ( ไฟ LED Lighting)
ในทศวรรษที่ 20 หลอดแอลอีดี (light emitting diodes: LED)มักจะถูกเป็นไฟแสดงสถานการณ์ทำงานของวิทยุทั่วๆไป หรืออาจจะถูกใช้เป็นหน้าจอและไฟปุ่มกดในโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันหลอดแอลอีดีก็ถูกนำมาใช้เป็นหน้าจอโน๊ตบุ๊ค ใช้ทำจอโทรทัศน์และในท้ายที่สุดเทคโนโลยีหลอดแอลอีดีที่จะมาหน้าที่แทนหลอดไส้(incandescent lamps)และหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์(fluorescent lamps)ที่ใช้ตามบ้าน สาเหตุของการปฏิบัติเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์แสงสว่างที่กำลังเกิดขึ้นนี้ เกิดจากราคาต่อหน่วยของหลอดแอลอีดีที่มีราคาถูกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 เป็นต้นมา หากทำการเปรียบเทียบต่อหนึ่งวัตต์ หลอดแอลอีดีสีแดงสามารถให้แสงสว่างสูงกว่าหลอดไฟฟ้าทั่วไป 20 เท่า โดยมีราคาถูกกว่า 90% เป็นไปกฎ Haitz’s law และก็ยังคงเป็นจริงกับหลอดแอลอีดีสีเหลืองและสีน้ำเงินที่เกิดขึ้นในภายหลัง แต่สำหรับหลอดแอลอีดีสีขาวซึ่งถูกนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ส่องสว่างในปัจจุบันเริ่มต้นขึ้นเมื่อทศวรรษที่แล้ว
หลอดแอลอีดีมีข้อดีต่างๆมากมาย เช่น ตัวหลอดทนทานต่อแรงกระทบกระแทกต่างๆ อายุการใช้งานมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนส์ และหลอดไส้ มีประสิทธิภาพสูง กินไฟน้อย เกิดความร้อนต่ำขณะใช้งานเปิด-ปิดได้หลายครั้งโดยไม่มีผลต่ออายุการใช้งาน มีขนาดเล็ก ติดตั้งตามกำแพงต่างๆได้ง่าย เป็นต้น และด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีวัสดุสารกึ่งตัวนำและเทคโนโลยีวิศวกรรมด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องทำให้อีกไม่นานหลอดแอลอีดี จะเข้ามามีบทบาทแทนที่ไฟทุกประเภทในอดีต
อันดับ 5 มัลติคอร์ซีพียู (Multicore CPUs)
ศาสตราจารย์ Kunle Olukotun ผู้คิดค้นมัลติคอร์ซีพียู
ย้อนกลับไปในปี พ.ศ.2537 นักโปรแกรมเมอร์ต่างก็ทราบกันดีว่า ไม่ว่าโปรแกรมที่เขาเขียนจะดีเพียงไร ความเร็วในการประมวลผลจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50% เมื่อทำงานบนคอมพิวเตอร์ ในปี พ.ศ.2538 และจะทำงานเร็วขึ้นอีก 50% เมื่อทำงานบนระบบ ในปี พ.ศ.2539 โดยที่รูปแบบของการเขียนโปรแกรมก็ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และโปรแกรมที่เขียนก็จะถูกประมวลผลทีละคำสั่ง แต่ศาสตราจารย์ Kunle Olukotun ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าแห่งมหาลัยสแตนฟอร์ด กลับไม่ได้คิดว่าจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป เขาคิดว่าไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้ ณ ขณะนั้นไม่ได้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพตามสมรรถนะของอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นตามกฎของมัวร์ (moore’s law) และเพื่อแก้ปัญาหาดังกล่าว ศาสตราจารย์ Kunle Olukotun ได้ออกแบบมัลติคอร์ซีพียูตัวแรกขึ้นมาทำให้สมรรถนะของซีพียูเป็นไปตามกฎของมัวร์ได้ในที่สุด หากไม่มีการคิดค้นมัลติคอร์ซีพียูนี้ สมรรถนะคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันคงจะไม่แตกต่างจากทศวรรษที่ผ่านมาในอดีต มัลติคอร์ซีพียูหมายถึง ชิปไอทีที่ภายในประกอบไปด้วยหน่วยประมวลผลมากกว่า2 (1หน่วยประมวลผลเท่ากับ1คอร์) โดยจุดประสงค์ในการเพิ่มหน่วยประมวลผลภายในชิปเดียวก็เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงาน ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลสูงขึ้น คือการสร้างกลไกในการประมวลผลมากกว่า1ชุดในชิปเพียงตัวเดียวได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในขณะเดียวกันยังช่วยลดการใช้พลังงานให้อยู่ในระดับต่ำ เมื่อมีการเปลี่ยนจากเทคโนโลยีที่ใช้ซีพียูแบบคอร์เดียวมาเป็นมัลติคอร์ สิ่งที่ตามมา คือ รูปแบบการเขียนโปรแกรมและการประมวลผลโปรแกรมต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบไปด้วยและข้อเสียหลักๆ ของเทคโนโลยีมัลติคอร์คือ ความยากในการผลิตเนื่องจากต้องการความละเอียดในการผลิตสูงมาก ทำให้มัลติคอร์ซีพียูมีราคาแพง นอกจากนั้นแอปพลิเคชันต่างๆจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องรองรับการทำงานแบบมัลติคอร์ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้นาย จัสติน แรทเนอร์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอินเทลได้กล่าวกับผู้ร่วมงาน อินเทล ดิเวลอปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ) ถึงผลที่เกิดขึ้นจากการนำระบบประมวลผลแบบมัลติคอร์มาใช้อย่างแพร่หลายว่าเป็นเพียงตัวอย่างของภาพที่สะท้อนให้เห็นว่าอนาคตของระบบประมวลผลกลังเกิดขึ้นแล้วในขณะนี้ และได้อธิบายถึงแอปพลิเคชันล่าสุดของเทคโนโลยีพร้อมด้วยเครื่องมือในการพัฒนาซอฟแวร์และเทคนิคในการเขียนโปรแกรมที่สามารถช่วยให้นักใช้ปรโยชน์จากพลังของระบบประมวลผลแบบมัลติคอรำด้อย่างเต็มที่ สำหรับงานหลากหลายประเภททำให้เกิดข้อดีหลายประการด้วย ไม่ว่าจะเป็นทำให้เว็บแอปพลิเคชันที่เร็วกว่าเดิม เช่น การขยายขีดความสามารถของจาวาสคิปท์ ให้มีคุณสมบัติในการเขียนโปรแกรมจัดการกับข้อมูลแบบคู่ขนาน และยังทำให้บริการจากระบบคลาวด์ที่ตอบสนองได้ดีขึ้น เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มในการพัฒนามัลติคอร์ซีพียูจะมีการเปลี่ยนจากชิปที่มีจำนวนคอร์ภายในเท่ากับ 2 3 4 6 หรือ 8คอร์ไปสู่ชิปที่มีจำนวนคอร์ภายในหลาย 10 หรือหลายร้อยคอร์ภายในชิปเดียวในที่สุด
26 มกราคม 2559
ผู้ชม 1547 ครั้ง