ดูบทความ
ดูบทความอัตราค่าไฟฟ้า ปี 2557 สำหรับบ้าน และ โรงงาน อัพเดตใหม่ล่าสุด
อัตราค่าไฟฟ้า ปี 2557 สำหรับบ้าน และ โรงงาน อัพเดตใหม่ล่าสุด
หมวดหมู่:
ศูนย์การเรียนรู้ ไฟ LED ของ AEC
ประเภท1 บ้านอยู่อาศัย / ค่า FT ล่าสุด ไตรมาส 3 ปี 2557 ปรับขึ้นเป็น 69 สตางค์ : หน่วย ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย วัดและโบสถ์ของศาสนาต่าง ๆ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว ค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย(ก่อน FT) เฉลี่ยปรับฐานแล้วคือ : 3.02 ค่า FT ประจำไตรมาส 3 ปี 2557 คือ 0.69 สตางค์ ต่อ หน่วย รวม อัตราค่าไฟฟ้า สำหรับบ้านอยู่อาศัย คือ = 3.71 บาท ต่อ 1 หน่วย .
หมายเหตุ 1. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดไม่เกิน 5 แอมแปร์ 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย จะถูกจัดให้อยู่ใน อัตราข้อ 1.1 แต่ถ้ามีการใช้พลังงานไฟฟ้าเกิน กว่า 150 หน่วยต่อเดือน ติดต่อกัน 3 เดือน ในเดือนถัดไปจะจัดเข้าอยู่ในอัตราข้อ 1.2 และถ้ามีการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนติดต่อกัน 3 เดือนในเดือนถัดไป จะจัดเข้าอยู่ในอัตราข้อ 1.1 ตามเดิม 2. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดเกินกว่า 5 แอมแปร์ 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย จะถูกจัดให้อยู่ในอัตราข้อ 1.2 ตลอด ไป 3. ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเลือกใช้อัตราข้อ 1.3 ได้ โดยจะต้องแจ้งความประสงค์กับการไฟฟ้านครหลวง และชำระค่าเครื่องวัดฯ TOU ก่อน หรือ ชำระค่าบริการ ด้านเครื่องวัดฯ TOU เพิ่มขึ้นจากค่าบริการปกติ และหากเลือกใช้ไปแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน สามารถขอเปลี่ยนกลับไปใช้อัตราเดิมได้ 4. สถานที่ที่ใช้ประกอบศาสนกิจ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้องสามารถเลือกใช้อัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่ 6 ได้ 5. ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าบริการรายเดือน ถึงแม้ไม่มีการใช้ไฟฟ้า 6. ผู้ ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.1 (ประเภทที่ 1 อัตราข้อ 1.1) ซึ่งติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดไม่เกิน 5(15) แอมแปร์ และใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน ได้รับค่าไฟฟ้าฟรีทั้งหมดในเดือนนั้น ข้อกำหนดเกี่ยวกับ อัตราค่าไฟฟ้า ปี 2556 อัตราค่าไฟฟ้า ปี 2557 1.อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยนทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า ประเภท1 บ้านอยู่อาศัย / ค่า FT ไตรมาส 3 ปี 2557 ปรับขึ้นเป็น 69 สตางค์ : หน่วย |
ประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่ /อัตราค่าไฟฟ้า ปี 2556 - 2557 (อัพเดตใหม่ล่าสุด ) ค่าไฟฟ้าสำหรับโรงงาน (ก่อน FT) เฉลี่ยปรับฐานแล้วคือ : 2.9278 ค่า FT ประจำไตรมาส 3 ปี 2557 คือ 0.69 สตางค์ ต่อ หน่วย รวม อัตราค่าไฟฟ้า สำหรับโรงงาน คือ = 3.6178 บาท ต่อ 1 หน่วย |
ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถานที่ทำการเกี่ยวกับกิจการของต่างชาติ และสถานที่ทำการขององค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด ตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือ มีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือน เกินกว่า 250,000 หน่วยต่อเดือน โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว |
4.1 อัตราตามช่วงเวลาของวัน (Time of Day Tariff : TOD Tariff ) *เฉพาะโรงงานที่เปิดก่อนปี 2543 โรงงานเก่าแก่ เปิดมาแล้วไม่ต่ำกว่า 14 ปี ขึ้นไป | |||||
อัตรารายเดือน | |||||
| ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) | ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) | ค่าบริการ (บาท/เดือน) | ||
| On Peak | Partial Peak | Off Peak | ทุกช่วงเวลา | |
4.1.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป | 224.30 | 29.91 | 0 | 2.6506 | 312.24 |
4.1.2 แรงดัน 12 - 24 กิโลโวลต์ | 285.05 | 58.88 | 0 | 2.6880 | 312.24 |
4.1.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ | 332.71 | 68.22 | 0 | 2.7160 | 312.24 |
On Peak : เวลา 18.30 - 21.30 น. ของทุกวัน | |||||
Partial Peak : เวลา 08.00 - 18.30 น. ของทุกวัน คิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่เกิน จากช่วง On Peak | |||||
Off Peak : เวลา 21.30 - 08.00 น. ของทุกวัน ไม่คิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้า |
ความต้องการพลังไฟฟ้า : ความต้องการพลังไฟฟ้าแต่ละเดือน คือ ความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดในรอบเดือน เศษของกิโลวัตต์ ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวัตต์ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวัตต์ขึ้นไป คิดเป็น 1 กิโลวัตต์ ค่าไฟฟ้าต่ำสุด : ค่าไฟฟ้าต่ำสุด ในแต่ละเดือน ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดในรอบ 12 เดือน ที่ผ่านมา ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ : สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Lagging) ถ้าในรอบเดือนใดผู้ใช้ไฟฟ้ามีความต้องการพลังไฟฟ้า รีแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาที ที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวาร์เกินกว่าร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวัตต์แล้ว เฉพาะส่วนที่เกินจะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ในอัตรากิโลวาร์ละ 56.07 บาทสำหรับการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าในรอบเดือนนั้น เศษของกิโลวาร์ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ ให้ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวาร์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์ |
4.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (TOU Tariff) *โรงงานที่เปิดหลังปี 2543 และโรงงานใหม่ทั้งหมด FT ปรับขึ้นราคา เป็น 69 สตางค์ ต่อ 1 หน่วย | |||||
อัตรารายเดือน | |||||
| ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า(บาท/กิโลวัตต์) | ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) | ค่าบริการ (บาท/เดือน) | ||
| On Peak | Off Peak | On Peak | Off Peak | |
4.2.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป | 74.14 | 0 | 3.5982 | 2.1572 | 312.24 |
4.2.2 แรงดัน 12-24 กิโลโวลต์ | 132.93 | 0 | 3.6796 | 2.1760 | 312.24 |
4.2.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ | 210.00 | 0 | 3.8254 | 2.2092 | 312.24 |
On Peak : เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์ | |||||
Off Peak : เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์ | |||||
: เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย) |
ความต้องการพลังไฟฟ้า : ความต้องการพลังไฟฟ้าแต่ละเดือน คือ ความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดในรอบเดือน เศษของกิโลวัตต์ ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวัตต์ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวัตต์ขึ้นไป คิดเป็น 1 กิโลวัตต์ ค่าไฟฟ้าต่ำสุด : ค่าไฟฟ้าต่ำสุด ในแต่ละเดือนต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดในรอบ 12 เดือน ที่ผ่านมา ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ : สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Lagging) ถ้าในรอบเดือนใดผู้ใช้ไฟฟ้ามีความต้องการพลังไฟฟ้า รีแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาที ที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวาร์เกินกว่าร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวัตต์แล้ว เฉพาะส่วนที่เกิน จะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ในอัตรากิโลวาร์ละ 56.07 บาทสำหรับการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าในรอบเดือนนั้น เศษของกิโลวาร์ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ ให้ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวาร์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์ หมายเหตุ 1. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในอัตราข้อ 4.1 ซึ่งใช้ไฟฟ้าก่อนเดือนตุลาคม 2543 จะยังคงถูกจัดอยู่ในอัตราข้อ 4.1 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่จัดเข้าอยู่ในประเภทที่ 4 ตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2543 จะถูกจัดเข้าอยู่ในอัตราข้อ 4.2 ในเดือนถัดไป หลังจากเดือนที่ติดตั้งเครื่องวัดฯ TOU แล้ว 2. ผู้ใช้ไฟฟ้าในอัตราข้อ 4.1 สามารถเลือกใช้อัตราข้อ 4.2 ได้ โดยต้องแจ้งความประสงค์กับการไฟฟ้านครหลวง และชำระค่าเครื่องวัดฯ TOU ก่อน ทั้งนี้หากเลือกใช้แล้วจะกลับไปใช้อัตราเดิมไม่ได้ 3. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีสูงสุด ต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ ติดต่อกันเป็นเวลา12เดือน ในเดือนถัดไปจะจัดเข้าอยู่ในประเภทที่ 2 4. ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าบริการรายเดือน เพิ่มจากค่าไฟฟ้าต่ำสุดด้วย ข้อกำหนดเกี่ยวกับ อัตราค่าไฟฟ้า 1. อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยนทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า FT ปรับขึ้นราคา เป็น 69 สตางค์ ต่อ 1 หน่วย |
26 มกราคม 2559
ผู้ชม 23570 ครั้ง