บริษัท แอลอีดีเซฟ(ประเทศไทย) จำกัด

ดูบทความปรับขึ้นราคา อัตราค่าไฟฟ้า ปี 2556 (โรงงานอุตสาหกรรม )

ปรับขึ้นราคา อัตราค่าไฟฟ้า ปี 2556 (โรงงานอุตสาหกรรม )

ประเภท 4 กิจการขนาดใหญ่ / ค่า FT ปรับขึ้นเป็น 69 สตางค์ : หน่วย

 
ลักษณะการใช้  สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ  อุตสาหกรรม  หน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงาน
รัฐวิสาหกิจ  สถานที่ทำการเกี่ยวกับกิจการของต่างชาติ  และสถานที่ทำการขององค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการ
พลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด ตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือ มีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือน เกินกว่า 250,000 หน่วยต่อเดือน โดยต่อผ่าน
เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
 
 
4.1 อัตราตามช่วงเวลาของวัน (Time of Day Tariff : TOD Tariff )
 
อัตรารายเดือน
 
ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า
(บาท/กิโลวัตต์)

ค่าพลังงานไฟฟ้า
 (บาท/หน่วย)

ค่าบริการ
(บาท/เดือน)

 
On Peak
Partial Peak
Off Peak
ทุกช่วงเวลา
 
4.1.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป
224.30
29.91
0
2.6506
312.24
4.1.2 แรงดัน 12 - 24 กิโลโวลต์
285.05
58.88
0
2.6880
312.24
4.1.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์
332.71
68.22
0
2.7160
312.24
 
On Peak      : เวลา 18.30 - 21.30 น. ของทุกวัน
Partial Peak : เวลา 08.00 - 18.30 น. ของทุกวัน คิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่เกิน
                                                   จากช่วง On Peak
Off Peak      : เวลา 21.30 - 08.00 น. ของทุกวัน ไม่คิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้า




ความต้องการพลังไฟฟ้า : ความต้องการพลังไฟฟ้าแต่ละเดือน คือ ความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดในรอบเดือน เศษของกิโลวัตต์
ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวัตต์ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวัตต์ขึ้นไป คิดเป็น 1 กิโลวัตต์
 
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด            : ค่าไฟฟ้าต่ำสุด ในแต่ละเดือน ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดในรอบ 12 เดือน
ที่ผ่านมา
 
ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์     : สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์  (Lagging)  ถ้าในรอบเดือนใดผู้ใช้ไฟฟ้ามีความต้องการพลังไฟฟ้า  รีแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาที
ที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวาร์เกินกว่าร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวัตต์แล้ว
เฉพาะส่วนที่เกินจะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ในอัตรากิโลวาร์ละ 56.07 บาทสำหรับการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าในรอบเดือนนั้น
เศษของกิโลวาร์ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ ให้ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวาร์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์
 
 
 
4.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff)
 
อัตรารายเดือน
 
ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า(บาท/กิโลวัตต์)
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย)
ค่าบริการ (บาท/เดือน)
 
On Peak
Off Peak
On Peak
Off Peak
 
4.2.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป
74.14
0
3.5982
2.1572
312.24
4.2.2 แรงดัน 12-24 กิโลโวลต์
132.93
0
3.6796
2.1760
312.24
4.2.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์
210.00
0
3.8254
2.2092
312.24
 
On Peak : เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
Off Peak : เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
               : เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ
               วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
 
 
ความต้องการพลังไฟฟ้า : ความต้องการพลังไฟฟ้าแต่ละเดือน คือ ความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดในรอบเดือน เศษของกิโลวัตต์
ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวัตต์ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวัตต์ขึ้นไป คิดเป็น 1 กิโลวัตต์
 
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด            : ค่าไฟฟ้าต่ำสุด ในแต่ละเดือนต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ที่สูงสุดในรอบ 12 เดือน
ที่ผ่านมา
 
ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์     : สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Lagging) ถ้าในรอบเดือนใดผู้ใช้ไฟฟ้ามีความต้องการพลังไฟฟ้า รีแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาที
ที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวาร์เกินกว่าร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวัตต์แล้ว
เฉพาะส่วนที่เกิน จะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ในอัตรากิโลวาร์ละ 56.07 บาทสำหรับการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าในรอบเดือนนั้น
เศษของกิโลวาร์ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ ให้ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวาร์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์
 
หมายเหตุ
 
      1. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในอัตราข้อ  4.1 ซึ่งใช้ไฟฟ้าก่อนเดือนตุลาคม 2543 จะยังคงถูกจัดอยู่ในอัตราข้อ 4.1 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่จัดเข้าอยู่ในประเภทที่ 4 ตั้งแต่
          เดือน ตุลาคม 2543 จะถูกจัดเข้าอยู่ในอัตราข้อ 4.2 ในเดือนถัดไป หลังจากเดือนที่ติดตั้งเครื่องวัดฯ TOU แล้ว
 
      2. ผู้ใช้ไฟฟ้าในอัตราข้อ 4.1  สามารถเลือกใช้อัตราข้อ 4.2 ได้ โดยต้องแจ้งความประสงค์กับการไฟฟ้านครหลวง และชำระค่าเครื่องวัดฯ  TOU ก่อน
          ทั้งนี้หากเลือกใช้แล้วจะกลับไปใช้อัตราเดิมไม่ได้
 
      3. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีสูงสุด ต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ ติดต่อกันเป็นเวลา 12 เดือน ในเดือนถัดไปจะจัดเข้าอยู่ในประเภทที่ 2
 
        4. ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าบริการรายเดือน เพิ่มจากค่าไฟฟ้าต่ำสุดด้วย
 
 
 
ข้อกำหนดเกี่ยวกับ อัตราค่าไฟฟ้า

      1. อัตราค่าไฟฟ้า ข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
      2. ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมี
          การเรียกเก็บ  Ft  ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยนทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตรา
          คงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า

ประเภท 4 กิจการขนาดใหญ่ / ค่า FT 69 สตางค์ : หน่วย

26 มกราคม 2559

ผู้ชม 4976 ครั้ง

Engine by shopup.com