บริษัท แอลอีดีเซฟ(ประเทศไทย) จำกัด

ดูบทความค่าไฟฟ้า จ่อขึ้นราคา ต้อนรับ AEC

ค่าไฟฟ้า จ่อขึ้นราคา ต้อนรับ AEC

ค่าไฟฟ้า จ่อขึ้นราคา ต้อนรับ AEC
 



       วิกฤติพลังงานบานไม่หุบ กฟผ.บ่นอุบก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าขาดแคลนหนัก ต้องนำเข้า LNG ที่มีราคาสูงถึง 2 เท่า และเพิ่มปริมาณมากถึง 5 ล้านบีทียู ส่งผลกระทบต่อต้นทุน จำเป็นต้องขยับขึ้นค่าไฟฟ้าอีก 5 บาทในระยะ 5 ปี ผู้เชี่ยวชาญพลังงานย้ำ 5 ปี ค่าไฟฟ้า ปรับขึ้น 5 บาทแน่ ด้านผู้ประกอบการครวญต้นทุนการผลิตพุ่ง ขณะที่ รวม.พลังงาน แนะทางออกเดินตามรอยสหรัฐฯใช้ถ่านหิน
 
 





       นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเปิดเผยกับ สยามธุรกิจ ว่าแนวโน้มอัตราค่าไฟฟ้าในอนาคตถ้าหากประเทศไทยยังพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก จะทำให้มีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า 5 บาทต่อหน่วย ในระยะเวลา 5 ปีหลังจากนี้ซึ่งการนำถ่านหินมาทดแทนการผลิตไฟฟ้าก็จะได้รับการคัดค้าน ทำให้ไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ ดังนั้น จึงต้องนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LNG) เพื่อมาผลิตไฟฟ้าเพิ่มมาก ซึ่งราคา LNG ดังกล่าวมีราคาแพงมากกว่าก๊าซธรรมชาติ 2 เท่าเป็นปัจจัยทำให้อัตราค่าไฟฟ้าต้องปรับสูงขึ้น ขณะนี้มีการนำก๊าซ LNG มาผลิตไฟฟ้าอยู่จำนวน 1 ล้านบีทียู แต่เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการในอนาคตต้องมีการนำเข้า LNG เพิ่มขึ้นประมาณ 5-6 ล้านบีทียู ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า
       ด้านนายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า ในอีกระยะ 5 ปีมีความเป็นไปได้ที่ค่าไฟฟ้าปรับขึ้นไปอีก 5 บาทถ้ารัฐบาลไม่สามารถทำตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ PDP 2013 ที่กระทรวงพลังงานกำลังทบทวนการผลิตไฟฟ้าในช่วงปี 2556-2573 ด้วยการลดการพึ่งก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าจาก 70%ให้เหลือ 45% แล้วหันไปใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าจาก 18%ให้เพิ่มเป็น 20%
       ปริมาณที่ผลิตได้ในประเทศจำนวน 4800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเริ่มมีปริมาณลดลงอย่าวต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการชดเชยก๊าซที่หายไป จึงต้องนำเข้า LNG เพิ่มขึ้นจาก 1 ล้านตันในปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านตันในปี 2557 และคาดว่าในระยะ 5 ปีจะต้องนำเข้า LNG มากถึง 10 ล้านตันซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนไฟฟ้าสูงขึ้นตามมาถ้าหากมีการต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่จนไม่สามารถก่อสร้างได้ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาอัตราค่าไฟฟ้าแพงตามมา
 





       ด้านนายพงศักดิ์ รักษพงศ์ไพศาลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าราคาก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบให้ค่าไฟฟ้าปรับขึ้นปีละ 50 สตางค์/หน่วย จากปัจจุบันค่าไฟฟ้าของไทยใกล้เคียงกับสหรัฐฯ ขณะที่แถบยุโรปเช่น เดนมาร์ก ออสเตรเลีย 10-12 บาท/หน่วย เยอรมณี บราซิล เนเธอร์แลนด์ 9 บาท/หน่วย และเกาะโซโลม่อน 25 บาท/หน่วย เพื่อไม่ให้อัตราค่าไฟปรับสูงขึ้นจึงต้องลดสัดส่วนการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติและไม่เพิ่มภาระให้กัประชาชน
       ทั้งนี้สหรัฐฯ ใช้อัตราค่าไฟฟ้าเท่ากับไทยเพราะมีการใช้ถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 2.4 แสนเมกะวัตต์ เป็นอันดับ 2 รองจากจีนที่มีการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินอยู่จำนวน 3.1 แสนเมกะวัตต์ ส่วนประเทศไทยมีการใช้ถ่านหินอยู่ที่ 5 พันเมกะวัตต์ ส่วนความกังวลการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจะส่งผลต่อโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้น ไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากข้อมูลพบว่าที่ประเทศจีนมีการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2700 เมตริกตัน/ปี สหรัฐฯ2100 เมตริกตัน/ปี และประเทศไทยมีเพียง 5 เมตริก/ปีเท่านั้น
       นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าไฟแต่ละครั้งทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีต้นทุนสูงขึ้น ถ้าหากปรับขึ้นค่าไฟ 5 บาทในระยะ 5 ปี ถือว่าอยู่ในอัตราที่สูงมากส่งผลกระทบ/ภาคอุตสาหกรรมทุกกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มอาหาร เคมี วัสดุก่อสร้าง ปิโตรเคมี และเหล็ก ซึ่งในที่สุดจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือผู้บริโภคสินค้า
นอกจากภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าไฟแล้ว ยังมีภาคท่องเที่ยว การส่งออกที่มีต้นทุนสูงขึ้นด้วย
     “เรารู้ว่าก๊าซธรรมที่ผลิตไฟฟ้ามีสัดส่วน 70% ถือว่าสูงมาก ถ้าจะกระจายความเสี่ยงด้วยการนำถ่านหินมาผลิตไฟฟ้าและคิดว่าถึงเวลาที่คนไทยทุกคนต้องเปิดใจรับฟัง เพราะทุกวันนี้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินแบบไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้”


หนังสือพิมพ์ “สยามธุรกิจ” ฉบับที่ 1385/ 13-15 มีนาคม 2556

26 มกราคม 2559

ผู้ชม 1421 ครั้ง

Engine by shopup.com