บริษัท แอลอีดีเซฟ(ประเทศไทย) จำกัด

ดูบทความย้อนรอยประวัติศาสตร์ หลอดไฟ ตั้งแต่อดีต จนถึง ปัจจุบัน

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ หลอดไฟ ตั้งแต่อดีต จนถึง ปัจจุบัน

 
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ หลอดไฟ
  
ตั้งแต่อดีต จนถึง ปัจจุบัน
 

 
หลอดไฟ ยุคปัจจุบัน 2014-อนาคต : หลอดไฟ LED  
 
     
หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงาน หรือ Light Emitting Diode เทคโนโลยีใหม่ ของ ระบบแสงสว่าง ที่กำลัง  จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง  "ระบบแสงสว่างใหม่  ของคนทั้งโลก ในยุค  2000"
      
     หลายๆคน อาจอยากจะรู้ ว่า ระบบ หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงาน จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างไร? วันนี้ทางทีมงาน  GuruLEDs จะพาพวกเรา ชาวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC  ไปดูกรณีศึกษาต่างๆกัน ในกรณีที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นในโลก ภาพของความเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยี  จะเป็นอย่างไรกันบ้าง

     กรณีศึกษาที่ 1.  กล้องระบบฟิล์ม  ถูก  เปลี่ยนเป็น  ระบบกล้องดิจิตอล  ในอดีตเราต้องใช้ ฟิล์มในการบันทึกภาพถ่าย แต่หลังจากที่มีการพัฒนากล้องบันทึกภาพด้วยระบบดิจิตอล    ได้เป็นผลสำเร็จ ปรากฏว่าในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี   ในปัจจุบันนี้ไม่มี ร้านขาย  กล้องแบบฟิล์มถ่ายภาพ อีกต่อไป  เพราะในปัจจุบัน กล้องดิจิตอล  ใช้ระบบการบันทึกภาพ ลงบน SD Card แทนการใช้ฟิล์ม แบบดั้งเดิม

    
     กรณีศึกษาที่ 2.เทปคลาสเซ็ต  ถูก เปลี่่ยนเป็น  CD DVD และการบันทึกข้อมูลระบบดิจิตอล     หลังจากที่มีการพัฒนาการบันทึกเสียง ด้วยระบบดิจิตอล ได้เป็นผลสำเร็จ    ปรากฏว่าในปัจจุบัน ไม่มีค่ายเพลงไหน  ผลิตเทปคลาสเซ็ต ออกมาขายกันอีกเลย   โดยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่นิยมใช้กันก็คือ การบันทึกเสียงลงบน แผ่น CD DVD และ  ขาย Download ไฟล์ข้อมูลต่างๆ  MP3 MP4 แทน เทปคลาสเซ็ต
    
 
       และจากกรณีศึกษาด้านบน  ทำให้พวกเรา ได้เริ่มมองเห็น อนาคตของ หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงาน ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น และอีกไม่กี่ปี ข้างหน้า ที่จะถึงนี้  ระบบหลอดไฟส่องสว่าง ทั้งหมดของโลก ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นระบบ หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงาน แทน  หลอดไฟ แบบดั้งเดิม ทั้งหมด 
 
 
 
          ยุคที่ 1 ยุคค้นพบครั้งแรก ปี ค.ศ. 1907 หรือ กว่า 107  ปี  มาแล้ว  กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ได้เริ่มค้นพบ ไฟ LED เป็นครั้งแรกของโลก ในรูปของสารกึ่งตัวนำ ไดโอด แต่ก็ยังเป็นเพียงแค่แนวคิดทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ยังไม่สามารถนำมาใช้งาน ในเชิงพาณิชย์ได้
        
 
         ยุคที่ 2 ยุคแห่งการพัฒนา ปี ค.ศ.1962 หรือ กว่า 52 ปี มาแล้ว กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ของ Mr.Nick Holonyak ได้พัฒนา ไฟ LED ต่อ จนสามารถ แยกแสงสีแดง สเปกตัม ออกมาได้ การค้นพบครั้งนี้ เป็นก้าวสำคัญ  ของวงการ ไฟ LED จึงทำให้  Mr.Nick ได้รับฉายา " Farther of Light Emitting-Diode. 
 
         หลังจากการค้นพบ LED สีแดง ของ Mr.Nick นั้น กลุ่มนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อๆ มา ก็พยายามพัฒนาต่อ และด้วยความพยายามอย่างหนัก ในที่สุด ก็สามารถ ค้นพบ LED สีเหลือง ได้เป็นสีต่อมา ซึ่งตอนนี้ ขาดอีกเพียงสีเดียว นั่นก็คือ สีน้ำเงิน เพราะถ้าหาก สามารถสร้าง ไฟ LED ครบ 3 สี เมื่อไหร่ คือ แดง เขียว น้ำเงิน RGB ก็จะทำให้สามารถสร้าง ไฟ LED แสงสีขาว ได้ 
         
        ยุคที่  3 ยุคแห่งการเริ่มต้นใช้งาน ในเชิงพาณิชย์ ค.ศ.  1996 หรือกว่า  18 ปี  มาแล้ว ในที่สุดความพยายาม ที่ยาวนาว ก็ประสบความสำเร็จ นักวิทยาศาสตร์ ชาวญี่ปุ่น สามารถ สร้าง ไฟ LED แสงสีน้ำเงินได้ และ เริ่มทำการ นำ ไฟ LED ทั้ง สามสี มา ผสม  สี  กัน จนในที่สุด สามารถสร้าง ไฟ LED แสงสีขาว ได้เป็นผลสำเร็จ และ  นี่คือ การเปลี่ยนแปลง ครั้งยิ่งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง ของโลก 
 
 
      ยุคที่  4  ยุคแห่งการ  ปฎิวัติ  วงการหลอดไฟ  ของโลก ค.ศ. 2004 ถึงปัจจุบัน หรือกว่า 10 ปี  ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน  วงการ หลอดไฟ LED ได้มีการพัฒนาประสิทธิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมท้ั้งราคาของหลอดไฟ  LED ก็ได้มีการ  ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ทำให้ในปัจจุบัน หลอดไฟ  LED มีความคุ้มค่าในการลงทุน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าไฟฟ้า ที่ลดลง โดยในขณะนี้ หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงาน ได้รับการสนับสนุน จากภาครัฐ และภาคเอกชน อย่างวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และ อาคารสำนักงาน ซึ่งมีการใช้หลอดไฟ จำนวนมาก 
 

 
 
คุณสมบัติ ของหลอดไฟ ระบบใหม่ : หลอดไฟ LED


1.กินไฟน้อย เพราะใช้ W ต่ำ แต่มีประสิทธิภาพ การให้แสงสว่างสูงมาก 100-140  lumen ต่อ W


2.อายุการใช้งานยาวนาน อายุการใช้งานเฉลี่ย 3 ปี 5 ปี 10 ปี / Lifetime 30,000 /   50,000 /  100,000  ชม.


3.ควบคุมทิศทางการให้แสงสว่างได้    เวลาติดตั้ง ไม่มีความจำเป็นต้องเลือกใช้ร่วมกับ  โคมไฟ ที่มีแผ่นสะท้อนแสงอย่างดี ทำให้ประหยัดต้นทุน และลดค่าโคมไฟ ไป 2-4 เท่า ( ในกรณีการติดตั้งใหม่ และ  ถ้าเป็นกรณีการติดตั้งทดแทนหลอดไฟดั้งเดิม ก็สามารถใช้โคมไฟเดิมได้เลย โดยไม่ต้องซื้อโคมไฟใหม่  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนหลอดไฟ)


4.แสงสว่างที่แผ่ออกมา ไม่มีความร้อน และ ไม่มี แสง UV ปะปนออกมา ทำให้อุณหภูมิห้องปกติ ประหยัดค่าแอร์   และจากการที่  หลอดไฟ  LED ไม่มีแสง UV ทำให้แมลงมองไม่ค่อยเห็นแสงไฟ (หมายเหตุ  แมลงส่วนใหญ่มองเห็นแสงไฟ  ในช่วงคลื่นแสง UV  ) ดังนั้นโรงงาน หรือ ออฟฟิศ และบ้าน  ที่ใช้ หลอดไฟ LED  ก็จะไม่ค่อยถูกแมลงรบกวน



ตัวอย่างการ นำ หลอดไฟ LED มาใช้ทดแทนหลอดไฟ แบบดั้งเดิม








 
หลอดไฟ ยุคกลาง 80 ปีมาแล้ว : หลอดก๊าซปรอท
 
        
         นักวิทยาศาสตร์ ในยุคอดีต ได้ทำการพัฒา นวัตกรรม ของหลอดไฟ เพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ในที่สุดก็เกิดเป็น ยุค ของหลอดนีออน หรือเรียกอีกอย่างว่า หลอดก๊าซ ภายในหลอด บรรจุปรอท
  
  
        หลักการทำงานง่ายๆ ของหลอดก๊าซ  ก็คือ การใช้กระแสไฟฟ้า ไหลผ่าน บัลลาสต์ และ สตาร์ทเตอร์ เพื่อกระตุ้นให้ก๊าซ ปรอท เคลื่อนที่ และ ปล่อยพลังงานออกมา 2 อย่าง ด้วยกัน นั่นคือ ความร้อน และแสงสว่าง
  
  
        เนื่องจาก แสงสว่างที่ได้ มีช่วงคลื่นแสง ที่ มนุษย์ มองไม่เห็น และ ยังเป็นช่วงคลื่นแสงที่เป็นอันตรายกับมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ จึงคิดค้น สารเคลือบ ฟอสฟอรัส มาเคลือบที่ผิวหลอดด้านใน เพื่อนำแสงสว่างที่ได้ มาสร้างปรากฎการณ์เรืองแสง และนี่คือที่มา ของ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่ทั่วโลกนิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน 


          หลอดฟลูออเรสเซนต์  หลอดแก้ว บรรจุก๊าซปรอท และเครือบผิวแก้วด้านในด้วย ฟอสฟอรัส นิยมใช้ในบ้าน ออฟฟิศ และโรงงาน มีประสิทธิภาพการให้แสงสว่างสูง ประมาณ 60-70 ลูเมน  ต่อ วัตต์ มีอายุการใช้งาน ประมาณ 10,000 - 20,000 ชัวโมง โดยอายุการใช้งาน จะสั้นลง หากนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการใช้งานต่อเนื่อง ยาวนาน 
 
 
          ข้อควรระวัง หลอดก๊าซ ฟลูออเรสเซนต์  T8 จะให้แสงสว่าง ที่มีการแผ่ความร้อนของแสง รวมทั้ง  ช่วงคลื่นแสงที่แผ่ออกมา เป็นคลื่นแสง UV  ดังนั้น  ควรระมัดระวัง การทำงานภายใต้แสงสว่างจากหลอดฟลูออเรสเซนต์  ที่สว่างมากเกินไป หรือใกล้เกินไป  อาจได้รับผลประทบ  จากแสง UV ได้

          หลอด เมทัลฮาไลด์   หลอดแก้วบรรุก๊าซปรอท และผสมสารประกอบอื่นๆ เช่น เมทัล เป็นต้น หลอด เมทัลฮาไลด์
มีอายุการใช้งาน ประมาณ 6,000 - 10,000 ชม. เนื่องจาก  หลอดเมทัลฮาไลด์ เป็น หลอดก๊าซที่ใช้พลังงานสูง คือส่วนใหญ่กินไฟ 250-400 W ขึ้นไป  (  ยังไม่รวมบัลลาสต์ ) ตัวหลอดแสงไฟ จึงแผ่ความร้อนออกมาสูงมาก ที่ตัวหลอดอุณภูมิ   เฉลี่ยสูงถึง 300-400 องศาเซลเซียส   นิยมใช้ติดตั้ง ในโรงงานอุตสาหกรรม ระยะการติดตั้งที่ความสูง ประมาณ 6 เมตร 8  เมตร ขึ้นไป
 
         ข้อควรระวัง หลอดก๊าซ เมทัลฮาไลด์ จะให้แสงสว่าง ที่มีการแผ่ความร้อนของแสง รวมทั้ง  ช่วงคลื่นแสงที่แผ่ออกมา เป็นคลื่นแสง UV  ดังนั้น  ควรระมัดระวัง การทำงานภายใต้แสงสว่างจากหลอดก๊าซที่สว่างมากเกินไป หรือใกล้เกินไป  อาจได้รับผลประทบ  จากแสง UV ได้
 
 
คุณสมบัติ ของหลอดไฟระบบก๊าซปรอท : ฟลูออเรสเซนต์ เมทัลฮาไลด์ โซเดียม  
1.กินไฟมาก เพราะใช้ W สูง มีประสิทธิภาพการให้แสงสว่าง ปานกลาง  50-70  lumen ต่อ W


2.อายุการใช้งานปานกลาง  อายุการใช้งานเฉลี่ย 3 เดือน  ถึง 1.5 ปี / Lifetime 3,000 -20,000 ชม.


3.ควบคุมทิศทางการให้แสงสว่างไม่ได้ ทำให้เวลาติดตั้ง ต้องเลือกใช้ร่วมกับโคมไฟ อย่างดี ที่มีแผ่นสะท้อนแสงอย่างดี
ซึ่งมีราคาสูง กว่าโคมไฟ แบบธรรมดา 2-4  เท่า


4.แสงสว่างที่แผ่ออกมา มีความร้อน  และ แสง UV ออกมา  ทำให้อุณหภูมิห้องสูงขึ้น  สิ้นเปลืองแอร์ และ แสง UV ที่ปล่อยออกมา เป็นแสงที่แมลง มองเห็น และนี่คือสาเหตุ  ที่แมลงเข้าเล่นแสงไฟ

 
หลอดไฟ ยุคโบราณ 114 มาแล้ว : หลอดไส้ 
     
 
        เป็นเวลามากกว่า 100 ปี มาแล้ว ที่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ได้เริ่มค้นพบ หลอดไส้ เป็นครั้งแรก ของโลก แต่ในยุคนั้น หลอดไฟ ก็ยังเป็นเพียงแค่แนวคิดทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ยังไม่สามารถนำมาใช้งาน ในเชิงพาณิชย์ได้
        
      และต่อมา โทมัส เอวา เอดิสัน ก็ได้นำ แนวคิดนี้ มาพัฒนาต่อ และด้วยความพยายามอย่างหนัก เอดิสัน ได้พยายาม ทำการทดลอง ครั้งแล้ว ครั้งเล่า นับ พันๆ ครั้ง (จนหลายๆคน ในยุคน้ั้นคิดว่า เอดิสัน เป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่ประสาทเฟื่อง และทำอะไรในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้) แต่แล้ว ในที่สุด โทมัส เอวา เอดิสัน ก็สามารถ ค้นพบวิธีการสร้าง หลอดไฟ แบบไส้ หลอดแรก ของโลก ได้เป็นผลสำเร็จ โดยหลอดไฟ ของ เอดิสัน เป็น หลอดไส้ ที่ทำจาก คาร์บอน ซึ่งต่อมา หลอดไส้ ของ เอดิสัน ก็ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
      เนื่องจาก ไส้หลอดไฟ ของ เอดิสัน ทำจาก คาร์บอน ทำให้ มีอายุการใช้งานสั้นมาก โดยมี อายุการใช้งานเพียงแค่ไม่เกิน 13 ชัวโมง นักวิทยาศาสตร์ รุ่นต่อๆ มา จึงได้พยายาม คิดค้น ไส้หลอด ขึ้นมาใหม่ และ ในที่สุด ก็ค้นพบ ไส้หลอด แบบ ทังสเตน ซึ่ง มีคุณสมบัติ ที่สามารถทนความร้อนได้สูงถึง หลัก 3,000 องศาเซลเซียส ทำให้หลอดไฟ แบบ ไส้ทังสเตน มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น จาก 13 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็น 1,000 - 3,000 ชัวโมง  
 
 
คุณสมบัติ ของหลอดไฟ  ระบบมีไส้หลอด : หลอดไส้ทังสเตน  
1.กินไฟสูงมาก เพราะใช้ W สูงมาก มีประสิทธิภาพการให้แสงสว่างต่ำสุด 10-15  lumen ต่อ  W


2.อายุการใช้งานสั้นมาก  อายุการใช้งานเฉลี่ย 3 เดือน  / Lifetime 3,000 ชม.


3.ควบคุมทิศทางการให้แสงสว่างไม่ได้ ทำให้เวลาติดตั้ง ต้องเลือกใช้ร่วมกับโคมไฟ อย่างดี ที่มีแผ่นสะท้อนแสงอย่างดี
ซึ่งมีราคาสูง กว่าโคมไฟ แบบธรรม 2-4เท่า


4.แสงสว่างที่แผ่ออกมา มีความร้อน  และ แสง UV ออกมา  ทำให้อุณหภูมิห้องสูงขึ้น  สิ้นเปลืองแอร์ และ แสง UV ที่ปล่อยออกมา เป็นแสงที่แมลง มองเห็น และนี่คือสาเหตุ  ที่แมลงเข้าเล่นแสงไฟ

      
ศูนย์การเรียนรู้ ไฟ LED ของ AEC : ย้อนรอย ประวัติศาสตร์ หลอดไฟ ตั้งแต่อดีต จนถึง ปัจจุบัน
Executive Producer By : LEDSAVE (THAILAND )CO.,LTD.
Official Website By : WWW.LEDSAVE.CO.TH
Graphic Designer By :  LEDSAVE Web Master Staff
Marketing & Public Relations BY : LEDSAVE Website Marketing Staff
Analysis  Article  By : LEDSAVE Business Senior Advisor
Source of information by :  LEDSAVE & Guru LEDs ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประหยัดพลังงาน
       
 

26 มกราคม 2559

ผู้ชม 25855 ครั้ง

Engine by shopup.com